Date: February 25, 2016
Author: Grip Thailand
นิตโตะซัง ขอทวนความนิดนึงนะครับ จุดประสงค์หลักของผู้ผลิตรถเก๋งขับเคลื่อน 4 ล้อ (Full Time) เหล่านี้ คือ ต้องการให้ได้แรงขับเคลื่อนสูงบนผิวลื่น โดยส่งแรงขับเคลื่อนไปยังล้อทั้ง 4 คราวนี้สมมติว่าล้อหน้า ไม่ว่าจะล้อเดียว หรือ 2 ล้อก็ตาม อยู่บนผิวที่ลื่นกว่าล้อหลัง แล้วหมุนฟรี แรงบิดรวม หรือแรงขับเคลื่อนของล้อคู่หน้าก็ จะลดลง แรงบิดรวมของล้อคู่หลัง ก็จะลดลงเหมือนล้อคู่หลังเสมอ เป็นอันว่าถ้าล้อคู่หน้ากำลังตะกาย กรวดหรือหิมะ แทนที่ล้อคู่หลังจะมีแรงขับเคลื่อนช่วย ก็กลับหมดแรงไปด้วย
โรงงานรถก็เลยใช้เฟืองกลางแบบลิมิเต็ด สลิพ ดิฟเฟอเรน หรือ LSD นี่แหละครับมาแก้ปัญหานี้ ที่ทำงานโดยหลักที่ว่า ล้อ (หรือเพลา) ที่หมุนเร็วกว่า หมายความว่า ล้อนั้นกำลังลื่น และมีแรงบิดน้อยกว่า (ซึ่งไม่จริงเสมอไป) ยกตัวอย่างเช่น ตอนที่เราเลี้ยวรถขับเคลื่อน 4 ล้อบนถนนแห้ง หรือ “ดี” ปกติ ล้อทั้ง 4 ควรมีแรงขับเคลื่อนเท่าๆ กัน แต่เฟืองกลางแบบ LSD จะถือว่า (ตามการออกแบบ) ล้อคู่หน้ากำลัง “ลื่น” และหมุนฟรีอยู่ จึงส่งแรงบิดเพิ่มไปที่ล้อหลัง โดยอาศัยแรงเสียดทานจากการเสียดสีของผ้าคลัทช์ในระบบ LSD โดยไม่จำเป็น
ถ้าถามว่าทำไมเป็นอย่างนี้ ก็ต้องตอบว่าการจ่ายแรงขับเคลื่อนให้เหมาะสมจริง ต้องวัดแรงขับเคลื่อนแต่ ละล้อโดยตรง เช่น วัดแรงบิดที่เพลาขับกันเลย ก็พอทำได้ครับ แต่ยุ่งยาก แพงมาก และไม่ทราบว่าจะ ทนทานพอหรือไม่ โรงงานรถทั่วโลกก็เลยยังใช้ระบบ “ถ้าหมุนเร็วกว่า ถือว่ากำลังหมุนฟรีหรือลื่นอยู่”
ต้องอธิบายกันยาวยืดขนาดนี้ เพื่อปูพื้นให้เข้าใจถึงประเด็นของเรื่องนี้นะครับว่า ถ้าเราใช้ยางต่างขนาดกันกับรถเก๋งขับเคลื่อน 4 ล้อ (Full Time) เหล่านี้ ก็จะเกิดความสึกหรอเกินควร หรือถึงขั้นเสียหายได้ ยกตัวอย่าง เช่น ใช้ยางคู่หน้าคนละยี่ห้อ หรือคนละรุ่นกับยางคู่หลัง แล้วเส้นรอบวงของยางคู่หน้าน้อยกว่าคู่หลัง ขณะขับเป็นทางตรง ล้อคู่ หน้าย่อมหมุนเร็วกว่าล้อคู่หลัง ระบบ LSD ของเฟืองกลาง ก็จะรับรู้เสมือนว่าล้อคู่หน้ากำลังหมุนฟรี เล็กน้อยอยู่ตลอดเวลา แรงบิดที่ล้อหลังจะถูกเพิ่มขึ้น
แต่นั่นยังไม่ใช่ปัญหาครับ ปัญหาอยู่ที่ว่า จากเหตุข้างต้น ผ้าคลัทช์หรือชุดเสียดสีแบบใดก็ตามที่ใช้ในการปรับแบ่งแรงบิด ก็จะ “ทำงาน” คือ เสียดสีกันอยู่ตลอด เวลา แม้จะขับทางตรง แรงเสียดทานที่สูญไปในรูปของความร้อนจากการเสียดสีนี้ ก็คือพลังงานที่ระบบเอามาจากเครื่องยนต์ ซึ่งก็คือเชื้อเพลิงที่เปลืองเพิ่มขึ้นนั่นเอง
และที่น่ากลัวกว่า คือความสึกหรอของชิ้นส่วนภายในเฟืองกลางครับ ถ้าเข้าใจตรงนี้ ผู้ที่ใช้รถขับเคลื่อนล้อหลังแบบมี LSD ก็คงเข้าใจว่า ห้ามใช้ยางล้อซ้ายและล้อขวาแตกต่างกันเช่นเดียวกันครับ
บางคนอาจจะบอกว่า เราก็ใช้รถถูกวิธีอยู่แล้ว คู่มือใช้งานก็อ่านหมดทั้งเล่ม ไม่เห็นมันบอกเราเลย นิตโตะซัง ว่าที่เป็นอย่างนี้ อาจเป็นเพราะวิศวกร หรือคนทำคู่มือการใช้ เขาเชื่อว่าคงไม่มีใครในประเทศที่พัฒนาแล้วระดับพวกเขา ที่ใช้ยางคนละยีห้อ หรือคนละรุ่นในรถคันเดียวกัน
เคยมีการสอบถามวิศวกรระบบขับเคลื่อนของโรงงาน ออดี้ ที่มีรถเก๋งรุ่นขับเคลื่อ 4 ล้อผลิตขาย คำตอบก็คือ
“อย่าว่าแต่ใช้ยาง คนละยี่ห้อหรือคนละรุ่นกันเลยครับ แม้แต่ใช้ยางรุ่นเดียวกันหมด แต่ถ้ายางคู่หนึ่งมีดอกยางตื้นกว่าอีกคู่มากหน่อย เช่น เปลี่ยนยางใหม่เฉพาะคู่หน้าหรือคู่หลัง ก็ทำให้ระบบเฟืองกลางสึกหรอได้เกินปกติ ทำให้รถเสียหายได้แล้ว !“
เพราะฉะนั้น ห้ามใช้ยางต่างรุ่นกับรถขับเคลื่อน 4 ล้อครับ !