• รู้จัก GRIP
  • News/Promotion
  • สินค้าและบริการ
    • Toyo Tires
    • Nitto Tire
    • Nankang Tire
  • สั่งซื้อสินค้า
  • ค้นหาขนาดยาง
  • ค้นหาสาขา
  • Tire Tips
  • นโยบายการรับประกัน
    • - Toyo Tires
    • - Nitto Tire
    • - Nankang Tire
  • ติดต่อเรา
Navigation menu
  • รู้จัก GRIP
  • News/Promotion
  • สินค้าและบริการ
    • Toyo Tires
    • Nitto Tire
    • Nankang Tire
  • สั่งซื้อสินค้า
  • ค้นหาขนาดยาง
  • ค้นหาสาขา
  • Tire Tips
  • นโยบายการรับประกัน
  • - Toyo Tires
  • - Nitto Tire
  • - Nankang Tire
  • ติดต่อเรา

รถเก๋งขับ 4 กับ ยาง !!! ตอนที่ 1

  • Home
  • ความรู้เรื่องยาง

Date: February 25, 2016

Author: Grip Thailand

  • Share:

นิตโตะซัง ไม่รู้ใครใช้รถเก๋งขับเคลื่อน 4 ล้อ (Full Time) อยู่บ้างนะครับ บางคนใช้เพราะเชื่อว่ามันจะเกาะหนึบกว่ารถที่ขับเคลื่อนแค่ 2 ล้อ ไม่ว่าจะล้อหน้าหรือล้อหลัง แต่ถ้ามันดีจริงแล้ว ทำไม่รถเก๋งหรูๆ สมรรถนะสูงๆ ระดับโลกหลายรุ่น ถึงยังใช้ระบบขับเคลื่อนล้อหลังกันอยู่ ?

 

Photographer - Stan Papior Subaru BRZ Silver Nissan 370Z Red Mazda MX5 Grey

ลองหาคำตอบแรกกันก่อนนะครับ ว่าระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ ดีกว่าระบบขับเคลื่อน 2 ล้อจริงหรือเปล่า ยกตัวอย่างแรกเป็นรถขับเคลื่อนล้อหลังนะครับ เริ่มตั้งแต่เพลาข้อเหวี่ยงในเครื่องยนต์ ซึ่งส่งแรงบิดผ่านเกียร์ แล้วส่งให้เพลากลาง ไปที่เฟืองท้าย แล้วแยกไปยังเพลาขับไปถึงล้อ จากนั้นล้อจึงส่งกำลังสู่ผิวถนนในรูปของแรงที่หน้ายาง แนวแรงที่หน้ายางมีทิศไปทางด้านหลัง กระทำต่อถนน เกิด แรงปฏิกิริยาของผิวถนน ที่กระทำต่อหน้ายางในทิศตรงกันข้ามกัน คือ ไปทางด้านหน้า และเนื่องจากถนนถูกตรึงอยู่กับพื้นโลก รถของเราเลยถูกแรงปฏิกิริยาของแรงขับเคลื่อนนี้ “ผลัก” ไปทางด้านหน้า… นี่อธิบายละเอียดเลยนะครับ

 

ในตัวอย่างของเรานี้ ล้อหลังจึงเป็นล้อขับเคลื่อน ถ้าอยู่ในสภาวะปกติ เช่น ผิวถนนแห้ง สะอาด ไม่มีฝุ่น ทราย แรงขับเคลื่อนที่ล้อหลังเพียง 2 ล้อก็พอครับ แต่ในการใช้งานจริง เราไม่ได้พบแต่สภาวะดีในอุดมคติเสมอไป มีหลายสถานการณ์ที่ทำให้ล้อเพียง 2 ล้อ ส่งแรงขับเคลื่อนได้ไม่เพียงพอ เช่น เมื่อ ถนนเปียกลื่น มีฝุ่น ทราย หรือเมื่อหน้ายางต้องรับภาระอื่นด้วย เช่น แรงหนีจุดศูนย์กลาง ที่เกิดตอนเข้าโค้ง ก็จะเหลือส่วนที่ใช้ในการขับเคลื่อนน้อยลง เห็นได้ชัดรึยังครับว่าเราต้องการจำนวนล้อขับเคลื่อนเพิ่มขึ้นแล้ว !

 

ดูตัวอย่างที่ช่วยให้เข้าใจได้ง่ายทันทีเลยก็ได้ครับ ซึ่งก็คือ การส่งแรงเบรกลงสู่ผิวถนน ถ้าเป็นการเบรก บนผิวถนนที่แห้ง สะอาด และไม่เรียบสนิท เป็นมัน ตอนที่เบรกอย่างแรง เช่น เบรกฉุกเฉิน แรงเบรกเกือบทั้งหมด (อาจถึง 90 %) อยู่ที่ล้อหน้า สมมติว่าไม่มีเบรกที่ล้อหน้า สมรรถนะในการเบรกก็แทบไม่ ต่างกัน แต่ถ้าเป็นการเบรกบนถนนลื่น หรือในโค้ง 2 ล้อไม่เพียงพอแล้วครับ เราต้องการแรงเบรกที่ทุกล้อแบบสามัคคีกันเต็มที่ แน่นอน

 

พอตอบคำถามแรกเสร็จ ก็มีคำตอบที่สองตามมาทันทีว่า ถ้าระบบขับเคลื่อน 4 ล้อตลอดเวลาดีจริง อย่างที่ว่า ทำไม่รถคุณภาพสูงสุดบางรุ่น ก็ยังไม่ต้องใช้เลย มีหลายสาเหตุที่เข้าใจได้เลยไม่ต้องอธิบาย คือ มันออก แบบยาก ผลิตยาก กินเนื้อที่เพิ่มขึ้น ต้นทุนสูงกว่า และเพิ่มน้ำหนักรวมของตัวรถด้วย

 

ข้อสุดท้ายเรื่องน้ำหนักนี้ เป็นข้อเสียทางด้านเทคนิคเล็กน้อยเท่านั้นเองนะครับ เพราะประโยชน์และความปลอดภัยที่ได้ คุ้มค่ากว่ามาก

 

แล้วมันเกี่ยวกับยางยังไงบ้าง มาว่ากันต่อเร็วๆ นี้ครับ

Newsletter

รับข่าวสารจากล่าสุดจาก GRIP THAILAND.

Promotion

พบกับ Promotion ล่าสุดของ GRIP เร็วๆนี้

Contacts

ADDRESS:

88/8 หมู่ที่ 5 ตำบลท่าไม้ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร 74110

TELEPHONE:

02-024 8091-9

FAX:

02-024 8090

EMAIL:

tsiam@loxinfo.co.th

จัดการ การอนุญาติใช้งาน Cookies
เว็บไซต์ Grip Thailand มีการใช้งานเทคโนโลยีคุกกี้ หรือ เทคโนโลยีอื่นที่มีลักษณะใกล้เคียงกันกับคุกกี้ บนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษา นโยบายการใช้คุกกี้ และ นโยบายความเป็นส่วนตัวของข้อมูล ก่อนใช้บริการเว็บไซต์ ได้ที่ลิงค์ด้านล่าง
คุกกี้ที่จำเป็น Always active
คุกกี้ที่จำเป็นต่อการใช้งานเว็บไซต์ หากขาดคุกกี้ประเภทนี้ เว็บไซต์จะไม่สามารถใช้งานได้อย่างปกติ
Preferences
The technical storage or access is necessary for the legitimate purpose of storing preferences that are not requested by the subscriber or user.
คุกกี้เก็บสถิติ
The technical storage or access that is used exclusively for statistical purposes. คุกกี้ที่ใช้เก็บสถิติการเข้าใช้บริการเว็บไซต์
คุกกี้การตลาด
คุกกี้ที่ใช้ในการตลาดออนไลน์ ใช้เพื่อนำเสนอข้อมูลทางการตลาดให้เหมาะสมเฉพาะบุคคลมากยิ่งขึ้น
Manage options Manage services Manage vendors Read more about these purposes
ดูรายละเอียด
{title} {title} {title}