About us

กริพเดียว จบเรื่องยาง เตรียมพบกับศูนย์บริการยางรถยนต์ครบวงจร ที่นี่ เร็วๆ นี้

วิธียืดอายุยางรถยนต์

ยางรถยนต์ เมื่อถูกใช้งานก็ย่อมสึกหรอไปตามระยะทางและระยะเวลาในการใช้งาน การดูแลรักษาด้วยวิธีที่ถูกต้อง จะช่วยให้การใช้ยางรถยนต์เป็นไปอย่างเต็มประสิทธิภาพและยืดอายุการใช้งาน           ถึงแม้ผู้ผลิตจะผลิตยางรถยนต์ออกมาให้มีประสิทธิภาพและคุณภาพดีเพียงใดก็ตาม หากใช้ยางรถยนต์ไม่ถูกต้อง จะทำให้ได้รับประสิทธิภาพยางรถยนต์ไม่เต็มที่และทำให้ยางรถยนต์เสียหายก่อนกำหนด ดังนั้นยางรถยนต์จะให้ประโยชน์คุ้มค่าทุกด้านอย่างเต็มที่ขึ้นอยู่กับการใช้ยางรถยนต์ที่ถูกต้อง สำหรับการใช้ยางรถยนต์ที่ถูกต้องขอแนะนำดังนี้ เติมลมยางให้อยู่ในอัตราเหมาะสม           การเติมลมยางรถยนต์ให้ได้ตามอัตราที่เขียนในคู่มือรถยนต์ได้กำหนดเป็นอัตราที่ดีที่สุด เหมาะสมสำหรับรถแต่ละชนิด แต่หากคุณไม่ได้ใช้ยางรถยนต์ขนาดเดียวกันกับยางที่ติดรถมา ควรขอคำแนะนำเกี่ยวกับอัตราสูบลมยางที่เหมาะสมจากผู้ผลิตยางหรือร้านจำหน่ายยางรถยนต์ที่ได้มาตราฐาน ในส่วนของ ยางอะไหล่ คุณควรเติมลมไว้ให้มากกว่ามาตราฐาน 3 – 4 ปอนด์ และเมื่อนำมาใช้งานก็ปล่อยให้เป็นความดันปรกติ ควรตรวจเช็คลมยางสม่ำเสมอ           คุณควรตรวจเช็คลมยางประมาณอาทิตย์ละครั้ง หรือทุกครั้งก่อนเดินทางในขณะที่ยางรถยนต์ยังเย็นอยู่ เพราะตรวจเมื่อใช้รถไปแล้วหรือตัวยางรถมีความร้อน ค่าความดันภายในยางจะสูงขึ้นและไม่ได้เป็นค่าที่ใช้วัดตามมาตราฐาน ไม่ควรใช้วิธีสังเกตด้วยตาว่า ลมยางรถยนต์อ่อนเกินไปหรือยัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากยางที่คุณใช้เป็นยางเรเดียล ควรตรวจเช็คลมโดยให้เกจ์วัดลมที่ได้มาตราฐาน สลับยางรถยนต์ เพื่อให้ยางรถยนต์ทุกเส้นมีการสึกที่เท่ากัน ดังนั้นท่านควรศึกษาคู่มือการใช้รถเกี่ยวกับคำแนะนำในการสลับยางรถยนต์ ควรจะสลับยางรถยนต์ในทันทีที่คุณใช้รถครบ 10,000 กิโลเมตรแรก ข้อควรระวัง ลมยางล้อหน้าและล้อหลังต่างกัน ดังนั้นเมื่อสลับยางรถยนต์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ท่านก็ต้องปรับระดับความดันลมของยางรถยนต์ล้อหน้า และล้อหลังให้ถูกต้อง ต้องมีการถ่วงล้อ หากเกิดการกระจายน้ำหนักไม่ถูกต้องของยางรถยนต์ จะก่อให้เกิดอาการสั่นสะท้านขึ้นขณะที่รถวิ่ง อันจะมีผลเสียต่ออายุการใช้งานของยางรถยนต์ ระบบช่วงล่างของรถ ตลอดจนความสะดวกสบายในการขับขี่ ปรับตั้งศูนย์ล้อ           รถที่มีปัญหาศูนย์ล้อที่ไม่ตรง เช็กง่าย […]

ยางรถของคุณวิ่งเร็วได้แค่ไหน?

เช็กได้ด้วยตัวเอง ว่ายางของเราวิ่งได้เร็วแค่ไหน ซึ่งสามารถเช็กได้จากเรทความเร็วสูงสุดที่ยางรับได้ หรือ Speed symbol นะครับ ซึ่งตัว W หมายถึงไม่เกิน 270 กม./ชม. มาเช็กกันเลย ว่ายางของคุณรับความเร็วสูงสุดได้เท่าไหร่ S = 180 T = 190 H = 210 V = 240 W = 270 Y = 300 Z = เกินกว่า 240   แม้ว่ายางของเราจะสามารถวิ่งความเร็วสูงได้ก็อย่าประมาทในการใช้รถใช้ถนนนะ

ที่จอดรถมีผลต่อการเสื่อมสภาพของยาง

หากจอดในสถานที่ที่พื้นไม่เรียบ แถวเนิน ร่องน้ำหรือลูกระนาด จะส่งผลต่อยางของคุณยิ่งถ้าลมยางอ่อน จะทำให้ยางรถยนต์เสียทรงเร็วและในบางครั้งการจอดรถบริเวณริมถนนตรอกซอกซอยแคบๆ ก็ควรระวังเศษแก้วด้วย สิ่งพวกนี้อาจจะทำให้ยางรั่วหรือแตกได้ ทางที่ดีก่อนที่จะขับรถควรเช็คยางรถยนต์ให้ดีก่อนนะครับ ส่วนจอดในสถานที่ที่มีพื้นเรียบก็อย่าพึ่งดีใจไป เพราะการจอดเป็นระยะเวลานานๆ ก็อาจจะทำให้ยางเสียทรงได้ด้วยเช่นกัน ถ้าหากต้องจอดไว้เป็นเดือนๆ ควรมีการขยับรถบ้าง ทุกๆ 3-4 วัน เพื่อให้หน้ายางส่วนอื่นได้สัมผัสกับพื้นบ้าง ถ้าไม่ขยับก็รอวันยางเสียได้เลย

Grip Special Content : สารพัดกลโกง ของสารพัดช่าง (3)

Grip Special Content : สารพัดกลโกง ของสารพัดช่าง   กลโกงยางเปอร์เซ็นต์ อันตรายถึงชีวิต   ปัญหามากมายเกี่ยวกับ ยางรถยนต์มือสอง หรือยางเปอร์เซ็นต์ ที่เกิดขึ้น ซึ่งบางคนก็เคยพบ หรือ บางทีก็มีเรื่องมีราวกัน ยางเปอร์เซ็นต์ หรือยางมือสอง เวลาซื้อต้องสังเกตดีๆ มันไม่เหมือนยางใหม่ ซึ่งท่านซื้อที่ไหนก็ได้เพราะ มันเหมือนกัน มีต่างกันก็แค่ราคาเท่านั้น     เราจะมาแนะนำวิธีตรวจสอบยางเปอร์เซ็นต์เบื้องต้นกันขอให้ท่านสังเกตเลขปียางบนแก้มยางของท่าน ในกรอบสี่เหลี่ยมตัวสุดท้ายท่านลองสังเกตดู ตัวเลขสุดท้ายที่ระบุปีในการผลิตยางมันแปลกจาก Frontของเลขที่ระบุสัปดาห์ในการผลิตยาง 2 ตัวข้างหน้าหรือไม่ ถ้ามีลักษณะผิดไปจากปกติ ท่านควรระวังไม่ควรซื้อยางเปอร์เซ็นต์ในลักษณะนี้โดยเด็ดขาดเพราะยางเหล่านี้อาจจะเก่าเกินไปและเสื่อมคุณภาพแล้ว เพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนของท่าน หากไม่อยากจะต้องเอาชีวิตไปเสี่ยงกับยางเปอร์เซ็นต์ที่เราไม่รู้ที่มา และ ไม่แน่ใจในคุณภาพ เลือกซื้อยางใหม่เถอะครับ ขับขี่มั่นใจ ปลอดภัยกว่าเยอะเลยครับ เปลี่ยนยางเมื่อไร นึกถึงเรา เพราะ “กริพ” ที่เดียวจบเรื่องยาง

Grip Special Content : สารพัดกลโกง ของสารพัดช่าง (2)

Grip Special Content : สารพัดกลโกง ของสารพัดช่าง   เช็คดูว่าทางร้านมีสถานที่เก็บยางที่ได้มาตรฐานหรือไม่เพราะยางใหม่อาจจะไม่ใหม่อย่างที่คิด     คนจำนวนมากไม่รู้ว่ายางที่เขาได้มานั้นเป็นยางเสื่อมคุณภาพจากการจัดเก็บซึ่งถ้าร้านยางมีสถานที่เก็บยางที่ได้มาตรฐาน ก็สามารถเก็บได้นานถึง 5 ปี หลังจากการผลิต แต่สำหรับร้านยางบางแห่งที่ไม่ได้มาตรฐานในการเก็บรักษายางแล้ว สภาพยางอาจจะไม่ใหม่เหมือนที่แจ้งเอาไว้ที่แก้มยางก็เป็นได้ เจอร้านยางแบบนี้ไป ก็งานเข้าครับ ซื้อยางไปใช้งานดอกยางก็จะเสื่อมคุณภาพทำให้แข็งและไม่ยึดเกาะถนน เหมือนอย่างที่ควรจะเป็น ยังไงก็เลือกร้านยางที่ได้มาตรฐาน รู้ลึกรู้จริงเรื่องยางดีกว่านะครับ เปลี่ยนยางเมื่อไร นึกถึงเรา เพราะ “กริพ” ที่เดียวจบเรื่องยาง

Grip Special Content : สารพัดกลโกง ของสารพัดช่าง (1)

Grip Special Content : สารพัดกลโกง ของสารพัดช่าง   กลโกงของขบวนการย้อมแมว เปลี่ยนยางเก่าให้ดูเหมือนยางใหม่   วิธีการของนักต้มตุ๋นมืออาชีพของร้านยางที่เอาเปรียบลูกค้า คือ การดึงพื้นผิวของยางส่วนนอก และกรีดผิวยางที่ไม่เรียบออก ทำให้ยางมีความเสี่ยงต่อการรั่วและระเบิดจากการเหยียบวัตถุแหลมคมได้ง่ายขึ้น ซึ่งความเป็นจริงแล้ว ถือเป็นเรื่องอันตรายมากๆ ในการทำเช่นนี้ เพราะจะทำให้โครงสร้างของยางผิดรูป หากลูกค้าท่านใดขาดความรู้ความเข้าในใจในเรื่องของยาง ก็อาจจะถูกต้มได้โดยง่าย ยางรถยนต์เป็นวัสดุสิ้นเปลือง ควรเปลี่ยนเมื่อหมดอายุการใช้งาน เพราะมีผลต่อความปลอดภัยในท้องถนนโดยตรง ควรซื้อยางจากร้านตัวแทนจำหน่ายที่ไว้ใจได้เท่านั้น และอย่าซื้อยางมือสองมาใช้ หากท่านไม่มีความรู้เรื่องการตรวจสภาพยางรถยนต์ เปลี่ยนยางเมื่อไร นึกถึงเรา เพราะ “กริพ” ที่เดียวจบเรื่องยาง          

ฝนมาแล้ว… (ไง) ? ระวังไว้เป็นดี

หน้าฝนเป็นช่วงที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ (ทางถนน) สูงกว่าปกติ เนื่องจากถนนเปียกลื่นและทัศนวิสัยในการมองเห็นไม่ดี เพื่อความปลอดภัย นิตโตะซัง เลยขอสรุปคำแนะนำวิธีป้องกันอุบัติเหตุในรูปแบบต่างๆ ที่มักเกิดขึ้นในช่วงฤดูฝนบ่อยๆ ครับ 1. รถชนท้ายหรือเฉี่ยวชน เกิดจากการขับรถตามรถคันหน้ากระชั้นชิดเกินไป เมื่อถนนเปียกและรถคันหน้าเบรกกะทันหันทำให้ไม่สามารถหยุดรถทัน เพื่อความปลอดภัยจึงไม่ควรขับรถเร็วเกินไป และไม่ขับจี้ท้ายรถคันหน้า ไม่หยุดหรือเปลี่ยนช่องทางเดินรถกะทันหันและต้องให้สัญญาณไฟล่วงหน้าก่อนเปลี่ยนช่องทาง 2. รถหลุดโค้ง เกิดจากการใช้ความเร็วสูงขณะเข้าโค้ง ทำให้ไม่สามารถควบคุมทิศทางของรถให้อยู่ในเส้นทางได้เพื่อความปลอดภัย ควรลดความเร็วให้อยู่ในระดับที่สามารถควบคุมรถและให้สัมพันธ์กับสภาพถนน ไม่เหยียบเบรกหรือปลดเกียร์ว่างขณะเข้าโค้ง เพราะจะเกิดแรงเหวี่ยงจนทำให้รถหลุดหรือแหกโค้ง ถ้ารถไถลออกนอกเส้นทางอย่าหักพวงมาลัยกะทันหัน ให้แตะเบรกเบาๆจับพวงมาลัยให้มั่น เพื่อประคองรถกลับเข้าช่องทางเดิม 3. รถพลิกคว่ำ เกิดจากการขับรถด้วยความเร็วสูงและเบรกกะทันหัน ยางและเบรกอาจไม่อยู่ในสภาพใช้การได้ดี ทำให้รถเสียการทรงตัวและพลิกคว่ำ เราต้องตรวจสอบยางและเบรกให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้อยู่เสมอ 4. รถเหินน้ำ เกิดจากขับรถผ่านบริเวณที่มีแอ่งน้ำท่วมขัง ทำให้ยางรถไม่สามารถไล่น้ำออกจากหน้าสัมผัสได้ทันที ทำให้ยางหมุนลอยอยู่บนน้ำ รถลื่นไถลไม่สามารถควบคุมทิศทางได้ ป้องกันโดยเมื่อขับรถผ่านที่ที่มีน้ำขัง หากรถเสียหลักไม่ควรเบรกกะทันหันให้ลดความเร็ว และใช้เกียร์ต่ำจนกว่ารถจะทรงตัวได้ดี

ฝนมาแล้ว… (ไง) ? ขับหลังลื่นยังไง

อาการ โอเวอร์เสตียริง ทั่วไปมักเรียกว่า “ท้ายปัด” มักเกิดขึ้นกับรถขับเคลื่อนล้อหลัง เมื่อขับรถเข้าโค้งอย่างเร็ว หรือเร่งในโค้ง จนเกินขีดจำกัดของแรงเสียดทานจากยางที่จะยึดเกาะถนนได้ หากมีอาการมากเกินไปจะเกิดอาการ “รถหมุน” ซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้ที่อยู่ในรถ และรอบข้างนอกด้วย เพราะผู้ขับขี่ทั่วไปจะไม่สามารถควบคุมรถได้เลยจนกว่ารถจะหยุดหมุนเอง ซึ่งมักเกิดขึ้นกับรถขับเคลื่อนล้อหลังเป็นส่วนใหญ่ครับ อาการนี้เกิดขึ้นเพราะ มุมลื่นไถล (Slip Angle) ของล้อหลังมีมากกว่ามุมลื่นไถลของล้อหน้า สมมติว่ารถเข้าโค้งซ้าย ล้อข้างซ้าย จะต้องหมุนช้า และน้อยรอบกว่าล้อข้างขวา แต่ถ้าเกิดกรณีล้อหลังเริ่มหมุนเร็วกว่าล้อหน้า ไม่ว่าจะจากสาเหตุไหน แสดงว่าท้ายรถเริ่มกวาดออกนอกโค้ง หมายถึง เกิดอาการท้ายปัดเข้าแล้ว หากเกิดอาการไม่มาก ให้ถอนคันเร่งพร้อมๆ กับ  “สวน” พวงมาลัยจากทิศทางเดิม ที่เราต้องการจะเลี้ยว ก็จะสามารถดึงรถให้กลับมาในทิศทางปกติได้ แต่ถ้าท้ายเริ่มบานออกมากแล้ว สามารถแตะเบรกช่วยเบาๆ ได้ ในชีวิตประจำวันเราสามารถหลีกเลี่ยง การ อันเดอร์เสตียริง และ โอเวอร์เสตียริง ได้ด้วยการฝึกสังเกตโค้งข้างหน้า และสภาพทางให้ดี เมื่อเห็นโค้ง ให้ประเมินความเร็วของรถ จากนั้นให้ใช้ความเร็วให้ต่ำกว่าที่เราเข้าโค้งได้ตามปกติ โดยเฉพาะเมื่อฝนตกและถนนเจิ่งนองไปด้วยน้ำ ก็จะสามารถเข้าโค้งได้อย่างปลอดภัยครับ

ฝนมาแล้ว… (ไง) ? ขับหน้าลื่นแบบไหน

อาการที่เกิดขึ้นกับรถ เมื่อรถเสียการทรงตัว มี 2 อาการหลักๆ ครับ ได้แก่อาการ อันเดอร์เสตียริง (Under steering) ที่มักจะเกิดกับรถขับเคลื่อนล้อหน้า และ โอเวอร์เสตียริง (Over steering) ที่มักจะเกิดกับรถขับเคลื่อนล้อหลัง นิตโตะซั งชวนมาทำความเข้าใจในแต่ละอาการ พร้อมวิธีแก้ไขเมื่อเกิดอาการเหล่านี้ขึ้นครับ อันเดอร์เสตียริง (Under steering) ภาษาปากเรียกกันว่า “หน้าแถ” หรือ “หน้าดื้อโค้ง” อาการ คือ เลี้ยวโค้งได้น้อยกว่าที่หักพวงมาลัย เกิดขึ้นเมื่อขับรถเข้าโค้งอย่างเร็ว หักพวงมาลัยอย่างเร็ว หรือเร่งในโค้ง จนเกินขีดจำกัดของแรงเสียดทานจากยางที่จะยึดเกาะถนนได้ ซึ่งเกิดขึ้นกับรถขับเคลื่อนล้อหน้าเป็นส่วนใหญ่ครับ ถ้าเราขับตรงๆ จะมีแรงกระทำไปด้านหน้า แต่เมื่อเราหักเลี้ยวพวงมาลัยแล้ว หากล้อหน้าเกิดอาการลื่นไถล ทิศทางของแรงก็ยังพยายามดันให้รถตรงไปด้านหน้าอยู่ดี เมื่อเกิดอาการแบบนี้ เราจะรู้สึกว่า โค้งนอกจะเข้ามาใกล้เรื่อยๆ ถ้าไม่แก้ไขอาการก็จะขับตกถนน ที่เรียกกันว่า “แหกโค้ง” การแก้ไข หากมีอาการไม่มาก สามารถทำได้ด้วยการถ่ายน้ำหนักให้กดลงไปล้อหน้าที่ลื่นมากขึ้น โดยให้ยกเท้าออกจากคันเร่ง ซึ่งเมื่อยกเท้าออกน้ำหนักจะกดไปที่ล้อหน้า ทำให้ล้อจับถนนได้ดีขึ้น และ หากมีอาการดื้อมากๆ สามารถแตะเบรกช่วยได้เบาๆ ทั้งสองวิธีนี้ […]

ฝนมาแล้ว… (ไง) ? อย่าวางใจสภาพถนน

เมื่อขับรถผ่านเส้นทางที่มีฝน มีน้ำขังควรลดความเร็วลงจับพวงมาลัยในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม ตำแหน่งที่ดีที่สุดของการจับมือซ้ายอยู่ที่ 9 นาฬิกา และมือขวา 3 นาฬิกา ครับ ถนนเมืองไทยมีทั้งแอ่งน้ำและการระบายน้ำที่ไม่ดีคละกันอยู่บ่อยๆ นอกจากอาการเหินน้ำแล้วก็ต้องทราบไว้ว่าช่วงที่ฝนเริ่มตกใหม่ๆ จะลื่นที่สุด ฉะนั้นเมื่อตัดสินใจลุยฝ่าในแอ่งน้ำ ควรชะลอความเร็วลงและใช้เกียร์ต่ำ วิ่งด้วยความเร็วสม่ำเสมอจนกว่าจะพ้นน้ำ ไม่ควรเบรกตอนที่รถอยู่ในน้ำ เพราะอาจทำให้รถปัดได้ ส่วนการขับรถบนถนนลื่น อย่าเหยียบเบรกแรงครั้งเดียว เพราะจะทำให้รถเสียหลัก แม้รุจะมี เอบีเอส ควรค่อยๆ เบรกอย่างนิ่มนวล เพราะถึงเอบีเอสจะป้องกันล้อล็อก แต่นั่นก็แสดงว่าเป็นการเบรกที่รุนแรงเกินไปนั่นเองครับ ส่วนรถที่ไม่มีระบบเบรก เอบีเอส การเบรกแรงๆ บนถนนลื่น ล้อมีโอกาสล็อกได้ง่ายมาก ล้อที่ล็อกจะขาดการบังคับควบคุมทิศทางจากพวงมาลัยหรือทำให้รถปัดเป๋จนถึงขั้นหมุนคว้างได้ ถ้าไม่จำเป็นก็อย่ากระแทกแป้นเบรกแรงๆ หากจำเป็นและรู้สึกว่าล้อล็อกแล้ว ควรละเบรกเล็กน้อยเพื่อให้ล้อคลายการล็อก

ฝนมาแล้ว… (ไง) ? ทำอย่างไรไม่ให้ลื่น

คนใช้รถอย่างเราๆ จำเป็นต้องขับรถลุยน้ำ เพื่อไปให้ถึงที่หมายเพื่อลดปัญหาการลื่นไถล  นิตโตะซัง แนะนำว่า นอกจากพิจารณาความลึกของร่องยางหรือความสูงของดอกยาง ซึ่งจะมีผลต่อประสิทธิภาพของการรีดน้ำของยาง ยางที่ยังถูกรีดขึ้นมาจาหน้ายางแทรกตัวอยู่ หรือสะบัดออกด้านข้างทั้งสองของแก้มยาง โดยร่องยางหรือดอกยาง ควรเหลือไม่ต่ำกว่า 1.5-2 มิลลิเมตร ยังควรเติมลมยางให้สูงกว่าปกติ 2-3 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว เพื่อทำให้หน้ายางแข็ง และมีกำลังในการวิ่งตัดน้ำครับ การขับรถในช่วงหน้าฝนควรเพิ่มแรงดันลมยางให้มากกว่าปกติ 2-3 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว ง่ายๆ ครับปกติเติมอยู่ 30 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว ก็มาเติมเพิ่มเป็น 32 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว หลายคนคง สงสัยว่า อ้าว ? ฝนตกแรงเสียดทานระหว่างยางกับถนนลดน้อยลงอยู่แล้ว ทำไมไม่เอาลมออก เพื่อเพิ่มแรงเสียดทานให้ยางเกาะกับถนนมากขึ้นล่ะ ในพื้นถนนที่แห้งน่ะใช่ เพราะเป็นการเพิ่มพื้นที่สัมผัสของหน้ายาง แต่เมื่อฝนตก การที่เราเติมลมยางเพิ่มไป เป็นการไปเบ่งยางในมีแรงดันต่อสู้กับน้ำที่เจิ่งนองบนผิวถนนได้ดีกว่าครับ

ฝนมาแล้ว… (ไง) ? ทำไมถึงลื่น

นิตโตะซัง ย้ำซ้ำๆ เลยครับว่า ช่วงที่ฝนตกไม่ควรใช้ความเร็วสูง ให้พิจารณาลดความเร็วตามสภาพผิวถนน สภาพการจราจร และสภาพรถของคุณเอง รถบางคันจากที่เคยเกาะถนนดีอาจเปลี่ยนเป็นคนละคันเลยเมื่อขับตอนฝนตก (โดยเฉพาะรถเล็กที่มีน้ำหนักเบา หรือร่องยางตื้นเกินไป) ถ้าใช้ความเร็วสูง และผิวถนนมีน้ำท่วมขัง อาจเจอปัญหาลื่นไถลเมื่อเบรกรุนแรง ถึงแม้จะมีระบบป้องกันล้อล็อก (ABS) ก็ตาม เพราะยางไม่สามารถรีดน้ำออกจากหน้ายางที่สัมผัสกับผิวถนนได้อย่างเต็มที่ ทำให้รถยนต์ที่ใช้ความเร็วสูงในระหว่างฝนตกเกิดอาการเหินน้ำ โดยปกติแล้วน้ำที่ท่วมขังผิวการจราจร เมื่อยางรถยนต์แล่นไปบนน้ำ ยางต้องใช้น้ำหนักและดอกยาง กดไล่นำให้ไปที่ร่องยาง และสลัดน้ำออกไปด้านข้างทั้งสองเพื่อให้หน้ายางสัมผัสกับผิวถนนได้อย่างเต็มที่ ถ้ายางหมุนเร็วจนเกินไปเพระผู้ขับใช้ความเร็วสูงมาก ดอกยางก็ไม่สามารถกดไล่น้ำให้เข้าไปที่ร่องยางได้ทัน รถยนต์อาจเกิดการลื่นไถลได้ เพราะฉะนั้นยางที่ร่องตื้นหรือยางหัวโล้น ควรรีบเปลี่ยนทันทีที่หน้าฝนมาถึง เพระดอกยางและร่องยาง มีไว้ให้น้ำแทรกตัวและสะบัดออกครับ

ฝนมาแล้ว… (ไง) ? ยางทำไมต้องมีดอก

หลายคนเข้าใจว่าร่องของดอกยางมีไว้กันลื่น แต่ไม่ใช่ เพราะจริงๆ มันมีหน้าที่เดียว คือ ช่วย “รีดน้ำ” ให้ออกไปจากหน้ายาง การที่ล้อของรถเราสามารถส่งแรงขับเคลื่อน และแรงเบรกลงสู่ผิวถนนได้ ต้องอาศัยแรงเสียดทานจากการกดสัมผัสกันระหว่าง 2 ตัวแปรนี้ ฉะนั้นเมื่อไหร่ที่มีน้ำมาคั่นกลาง ระหว่างพื้นผิวทั้ง 2 รถของเราก็จะไถลไปบนผิวน้ำ เรียกว่า การ “เหินน้ำ” หรือ ไฮดรอแพลนนิง (HYDROPLANING) ซึ่งจะลงเอยด้วยการ “แฉลบ” ครับ ขับรถบนพื้นผิวเปียกน้ำที่ไหนๆ ก็ลื่นหมด แต่ช่วงเวลาที่ลื่นที่สุด มักจะเป็นช่วง 10-15 นาทีแรกหลังฝนตก เพราะฝุ่นที่ติดอยู่บนพื้นถนนจะกลายสภาพเป็นโคลนบางๆ เคลือบผิวถนน จนกว่าฝนจะตกหนักยิ่งขึ้น และชะล้างออกจนหมดนั่นแหละ ความลื่นถึงจะลดลง อีกช่วงเวลาหนึ่งก็คือตอนที่ฝนตกเป็นระยะเวลานานแล้วจนถนนเจิ่งนองไปด้วยน้ำ มีความเสี่ยงต่อการเหินน้ำ ฉะนั้นจึงควรลดความเร็วลง ระมัดระวัง และตั้งใจขับกันนะครับ

อย่าลืม ยางอะไหล่

นิตโตะซัง เชื่อว่าทุกๆ ท่านที่ขับรถคงทราบถึงประโยชน์ของยางอะไหล่อยู่แล้วว่าใช้สำหรับเปลี่ยนกับยางรถยนต์ที่เกิดปัญหา ไม่สามารถวิ่งต่อไปได้ แต่ผู้ขับรถยนต์ส่วนมาก มักจะมองข้ามความสำคัญของยางอะไหล่ไปอาจจะด้วยสาเหตุที่ยางอะไหล่ถูกจัดเก็บไว้อย่างมิดชิด ในกระโปรงท้ายรถ หรือใต้ท้องรถ ยางอะไหล่เลยมักถูกลืมไม่ได้รับการดูแล ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ยางอะไหล่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง และจะต้องมีความพร้อมที่จะนำมาใช้งานได้ตลอดเวลา ในขณะที่รถวิ่งไปนั้น ยางรถยนต์ต้องสัมผัสกับผวถนนอยู่ตลอดเวลา ฉะนั้นโอกาสที่ยางรถยนต์จะวิ่งไปทับกับเศษวัสดุที่แหลมคม บาดหรือตำทะลุก็ย่อมเป็นไปได้ หากเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นระหว่างทางที่ห้างไกลจากชุมแล้วคุณจะทำอย่างไร ก็ต้องพึ่งย่างอะไหล่แน่ๆ แต่ด้วยความที่ไม่เคยตรวจเช็คลมและสภาพของยางอะไหล่เป็นเวลานาน เมื่อถึงเวลาจำเป็นที่ต้องนำออกมาใช้ มักปรากฏว่า ลมในยางอะไหล่มีไม่เพียงพอที่จะนำไปใช้งานได้ กลายเป็นยางแบนอีกเส้นนึง ดังนั้นผู้ใช้รถทุกท่านจำเป็นที่จะต้องทำการตรวจเช็คลมและสภาพของยางรถยนต์ทั้ง 4 เส้น และยางอะไหล่เป็นประจำ อย่างน้อยเดือนละครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งยางอะไหล่ควรเติมลมยางให้มากกว่าปกติประมาณ 5-10 ปอนด์ เผื่อไว้สำหรับการรั่วซึมเมื่อยังไม่นำมาใช้งาน จะได้ไม่ต้องถอดออกมาเติมบ่อยๆ ไงครับ

ทำยางถึงหมดสภาพ ทั้งๆ ที่ดอกยังลึกอยู่

การเสื่อมสภาพของยางเร็วกว่าปกติโดยที่ดอกยางยังมีอยู่เกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยครับ ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานที่ไม่ถูกต้องซึ่งหลักๆ แล้วมักเกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ต่อไปนี้ 1. ความร้อนและแสงแดด การจอดรถยนต์ในลานโล่งที่มีแสงแดดส่องเป็นเวลานาน ทำให้เกิดความร้อนสะสมที่บริเวณแก้มยางและหน้ายางมากกว่าปกติ โดยเฉพาะการจอดบนพื้นคอนกรีตและปูนทำให้เนื้อยางแข็งกระด้างหรือแตกลายงาได้ 2. การดูแลรักษายางที่ไม่ถูกต้อง เช่นการปล่อยให้ยางโดยน้ำมัน หรือสารเคมีที่อาจทำปฏิกิริยากับเนื้อยาง ทำให้เกิดการเสื่อมสภาพ เปื่อยยุ่ย และบวมได้ รวมถึงการใช้น้ำยาทำความสะอาดและเคลือบยางบางประเภท 3. การจอดรถอยู่กับที่เป็นระยะเวลานานๆ ที่อาจทำให้เกิดอาการไม่คืนตัวของการยุบตัวของโครงยางส่วนหน้า ที่สัมผัสกับพื้นได้ทำให้โครงยางเสียรูป ไม่กลมอย่างที่เคยบอกไปแล้วครับ

จอดรถทิ้งไว้ไม่ได้ใช้งาน ทำให้ยางหมดสภาพได้จริงหรือ

สำหรับผู้ทีเพิ่งเปลี่ยนยางใหม่ ผู้ที่ใช้รถน้อย หรือมีความจำเป็นต้องจอดรถทิ้งไว้ไม่ได้ใช้งานเป็นเวลานาน ควรที่จะนำรถไปขับขี่หรือเคลื่อนที่เพื่อให้ยางได้หมุนบ้าง เพราะการจอดรถอยู่กับที่เป็น FLAT SPOT ที่หน้ายาง หรืออาการไม่คืนตัวของการยุบตัวของรถยนต์ทั้งหมด จะตกสู่ยางแต่ละเส้นในจุดเดียว ถ้าจำเป็นจริงๆ ต้องจอดรถไว้เป็นเวลานาน ๆ โดยไม่ได้ใช้งาน ก็ควรจะเพิ่มความดันลมยางให้มากกว่าปกติประมาณ 10 ปอนด์ ต่อตารางนิ้ว หรือหากเป็นได้ได้ วิธีที่ดีที่สุดในกรณีที่ต้องจอดรถทิ้งไว้นานเกินกว่า 3 เดือนขึ้นไปนั้น ขอแนะนำให้ยกรถตั้งบนแท่นวางทั้ง 4 ล้อ ซึ่งทำให้น้ำหนักรถไม่กดทับลงบนยาง จะเป็นการรักษารูปร่างของยางได้ดีที่สุด

ตรวจเช็คความดันลมยางอย่างน้อยเดือนละครั้ง อ่อนหรือแข็งไปก็ไม่ดี

แน่นอนว่าเราควรตรวจเช็คความดันลมยางของรถ  ให้อยู่ระดับที่ผู้ผลิตกำหนดเพื่อให้หน้ายางสัมผัสกับผิวถนนได้อย่างสม่ำเสมอ โดยปกติโรงงานประกอบรถยนต์จะระบุระดับความดันลมยางที่เหมาะสม ไว้บริเวณขอบประตู หรือกำหนดในคู่มือประจำรถ  การเติมลมยางที่ถูกต้องนอกจากจะช่วยประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงแล้ว  ยังช่วยยืดอายุการใช้งานได้แก่รถด้วย   นอกจากนี้การเติมรถยางที่ไม่เท่ากัน  จะส่งผลให้รถยนต์เสียการทรงตัวเมื่อเบรกหยุดหรือเร่งความเร็ว  หรือรถถูกดึงไปด้านใดด้านหนึ่งขณะขับและทำให้ยางสึกไม่เท่ากันด้วยครับ การเติมลมยางมากเกินไป –  อายุยางลดลง –  บริเวณไหล่ยางจะสึกหรอเร็วกว่าส่วนอื่น ๆ –  เกิดความร้อนสูงที่บริเวณไหล่ยาง  ทำให้ผ้าใบหรือเนื้อยางไหม้แยกออกจากัน –  โครงยางบริเวณแก้มยางฉีกขาด  หรือหักได้ –  สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง –  เนื้อยางบริเวณหน้ายางจะฉีกขาดได้ง่าย  ถ้าวิ่งด้วยความเร็วสูง การเติมลมยางน้อยไป – เกิดการลื่นไถลได้ง่าย  เนื่องจากพื้นที่การยึดเกาะถนนลดลง – โครงยางระเบิดได้ง่ายเมื่อได้รับแรงกระแทก  หรือถูกของมีคมตำเนื่องจากโครงยางเบ่งตัวเต็มที่เกิดการยืดหยุ่นตัวได้น้อยดอกยางจึงสึก บริเวณตอนกลางมากกว่าส่วนอื่น ๆ –  อายุยางลดลง –  ความนุ่มนวลในการขับขี่ลดลง

การเติมลมยางที่ถูกต้องจริงๆ

นิตโตะซัง เคยบอกไปแล้วว่า ควรตรวจเช็คลมยางขณะที่ยางยังเย็นอยู่ หรือในช่วงเวลาก่อนออกเดินทาง และปรับแต่งให้ถูกต้องตามอัตราที่โรงงานผู้ผลิตรถยนต์กำหนดเป็นประจำ ในกรณียางใหม่  แนะนำว่าให้เพิ่มความถี่ในการตรวจเช็คลมยางให้มากกว่าปกติ (ในช่วง 3,000 กม. แรก)  เนื่องจากโครงยางในช่วงนี้จะมีการขยายตัวทำให้ความดันลมยางลดลงครับ ที่สำคัญห้ามปล่อยลมยางออก  เมื่อความดันลมยางสูงขึ้นในขณะกำลังใช้งานตามความเชื่อเดิมๆ เพราะความร้อนที่เกิดขึ้นขณะที่ใช้งานเป็นตัวทำให้ความดันลมภายในยางสูงขึ้นไม่ใช่ปริมาณลมที่ทำให้เกิดแรงดัน นอกจากนี้เพื่อป้องกันลมรั่วซึมที่วาล์ว (จุ๊บ) ควรเปลี่ยนวาล์ว และแกนวาล์วทุกครั้งที่เปลี่ยนยางใหม่และมีฝาปิดวาล์วตลอดเวลา เพื่อป้องกันเศษผง  ฝุ่น  หรือความชื้นซึมผ่านเข้าภายในยาง  ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อยางรถยนต์ได้ สำหรับยางอะไหล่ ให้ตรวจเช็คลมยางให้ถูกต้องทุกครั้งอยู่เสมอ ในกรณีรถเก๋งที่ขับด้วยความเร็วสูง  ให้เติมลมยางให้มากกว่าปกติ  3-5  ปอนด์ต่อตารางนิ้วจะสามารถช่วยลดความร้อนของยางได้เป็นอย่างดีครับ

ทำไมควรตรวจเช็คลมเมื่อยางเย็น

นิตโตะซังขอบอกว่า ยางรถยนต์เหมือนเกราะกันกระแทกระหว่างระยนต์และพื้นถนน  เพื่อให้รถยนต์สามารถขับเคลื่อนได้  ยางทุกเส้นเลยต้องได้รับการเติมลมก่อนใช้งาน และต้องรักษาระดับความดันลมยางให้ใกล้เคียงกับที่โรงงานผู้ผลิตกำหนดอยู่เสมอครับ   ยังไงก็ตามความดันลมยางจะลดลงหลังจากการใช้งานเป็นปกติอยู่แล้ว  ดังนั้นจึงควรเช็คระดับความดันลมยางอย่างสม่ำเสมอ  เพื่อยืดอายุการใช้งานของยางรถคุณ ระยะนี้ นิตโตะซัง จะเข้ามาแนะนำเกี่ยวกับเรื่องลมยางล้วนๆ ครับ ควรเช็คลมยางในขณะที่ยางเย็น  หรือก่อนการใช้งาน  เพราะทันทีที่เมื่อล้อเริ่มหมุน ยางจะเกิดการเปลี่ยนรูป  ทำให้อากาศภายในเกิดการเคลื่อนไหวเสียดสีกันจนทำให้เกิดความร้อนขึ้น อากาศภายในยางขยายตัวความดันลมเลยเพิ่มสูงขึ้น ถ้าจำเป็นต้องเติมลมหลังใช้งานแล้ว ควรเติมลมเพิ่มขึ้นอีก 2-3 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว เพื่อชดเชยความดันอากาศที่ขยายตัว หลังจากจอดทิ้งไว้จนยางเย็นค่อยมาเช็คลมยางอีกครั้งครับ

ยางดึง…ดึงยาง รักจะทำก็ต้องทน ตอนที่ 2

เนื่องจากการดึงยาง ไม่ใช่การสวมใส่ยางเข้ากับล้อที่เป็นมาตรฐาน ฉะนั้น ถ้าคิดว่าสวยและอยากจะใส่จริงๆ เราก็มีข้อควรระวังตามนี้ครับ 1. การเติมลมควรเติมให้มีแรงดันมากกว่าปกติ ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ล้อโดนกระแทกจนดุ้งได้ง่ายๆ ซึ่งรถจะกระด้างมาก ฉะนั้นทีนี้ภาระการรับแรงกระแทกจะไปยังช่วงล่างเต็มๆ 2.  ไม่ควรเข้าโค้งแคบ ด้วยความเร็วสูง เพราะจะทำให้ยางบิดตัว ปลิ้นหลุดออกมา 3. ถ้าไม่ขยันเช็คลมยาง แล้วลมยางอ่อน เมื่อล้อตกหลุม หรือแก้มยางยุบตัว จะมีโอกาสทำให้เกิดช่องว่างระหว่างยางกับล้อได้ง่ายมากๆ ลมยางจะรั่วออกทันที ยางจะแบน หรือหากกระแทกแรงอาจถึงขั้นระเบิดจนรถเสียการทรงตัว 4. ขอบล้อแม๊กซ์จะไม่ได้รับการปกป้องจากแก้มยาง โอกาสที่ล้อจะไปขูดกับขอบฟุตบาทมีสูงมากๆ สรุปง่ายๆ ว่าการใส่ยางดึง ถึงแม้จะไม่เป็นอันตรายในทันที แต่ก็ขับลำบาก ต้องระมัดระวังในหลายด้าน ช่วงล่าง และยางจะพังเร็วขึ้นครับ

ยางดึง…ดึงยาง รักจะทำก็ต้องทน ตอนที่ 1

  นิตโตะซังเห็นว่าเดี๋ยวนี้เทรนด์  Flush Style ยังมาแรงไม่หยุด การทำรถแนวนี้มักพุ่งเป้าไปที่ “ล้อ” และ “ยาง” ครับโดยขนาดหน้ากว้างของยาง จะต่ำกว่าความหน้ากว้างล้อ ซึ่งบอกไว้ก่อนว่ามันไม่ใช่มาตรฐานของการใส่ยางกับล้อที่ถูกต้องนะครับ ยกตัวอย่างเช่น ล้อแม๊กซ์กว้าง 8 นิ้ว ซึ่งปกติเราต้องใช้ยางหน้ากว้าง 205-215 ถ้าคิดเป็นนิ้วก็จะได้ประมาณ 8 นิ้วนิดๆ ซึ่งกว้างพอดีกันระหว่างล้อแม๊กซ์และยาง แต่ถ้าเราอยากใส่ล้อแนวดึงยาง ก็ต้องลดขนาดของหน้ายางลง ซึ่งที่เล่นๆ กันอยู่ก็จะใช้ยางหน้ากว้าง 165-185 มิลลิเมตร (กว้างประมาณ 6 นิ้วนิดๆ) ไม่เกินนี้.ซึ่งพอใส่ไปแล้ว แก้มยางจะออกแนวกลมๆ ป่องๆ ฉะนั้นว่ากันตามธรรมชาติ เวลาใส่ยางที่หน้าแคบกว่าล้อก็ต้องฝืนอัดอากาศเข้าไป ถ้ายางแคบกว่าล้อมาก ก็ต้องใช้วิธีจุดไฟกับแก๊สให้มีแรงอัดอากาศสูงจนระเบิด ทำให้แก้มยางไปชนกับขอบล้อได้ ถึงจะเติมลมได้ แต่ขอบยางจะไม่สามารถมาปกป้องขอบล้อได้อย่างแน่นอน เพราะยางมันลึกเข้าไปข้างใน ข้อดี คืออะไร ก็สวยไงครับ (ถ้าคิดว่าสวยนะ) ส่วนข้อเสียหรือข้อที่ควรจะต้องระวังมรอะไรบ้าง มาตามดูกันตอนต่อไปครับ

ฝาจุ๊บ ไอเดียเด็ด เจ๋ง หรือ เจ๊ง ???

เห็นฝาจุ๊บที่ออกแนว Gadget น่ารักๆ ขายกันอยู่ทั่วไป โดยจะบอกแรงดันลมยางคร่าวๆ ได้ด้วย โดยแสดงเป็นสีที่แตกต่างกัน นิตโตะซัง ก็เห็นว่าเก๋และดูมีประโยชน์ดี แต่อันที่จริงกลับแฝงโทษไว้โดยผู้ใช้ไม่รู้ตัวนะครับ       ฝาจุ๊บลักษณะนี้ มีให้เลือกหลายแรงดัน โดยจะแสดงตัวเลขเขียนกำกับไว้ เช่น 30, 32 อันที่จริงผู้ผลิตเขียนไว้ชัดเจนว่า “ไม่ใช่เครื่องมือวัดแรงดันลม” เป็นเพียงแค่แสดงค่าแรงดันลมคร่าวๆเท่านั้น  หลักการทำงานของมันง่ายๆ ครับ แค่ถอดฝาจุ๊บธรรมดาๆ อันเดิม แล้วไขหมอนี่ใส่เข้าไป ก็เป็นอันเสร็จพิธี   ใหม่ๆ มันก็ดีอยู่คับ เพระลูกยางที่ใช้ปิดแรงดันลม และลูกศรของจุ๊บเรา มันยังไม่เก่า ไม่พัง แต่พอนานไปลูกยางของฝาหมดอายุ หรือ ลูกศรของจุ๊บลมเราเริ่มพัง ลมจะค่อยๆ ซึมออกมาจนหมดจนหมดและยางจะแบนในที่สุด   ฝาจุ๊บบอกค่าแรงดันลมที่ว่านี้ ด้านในจะมีลักษณะเป็นเขี้ยว เพื่อกดลูกศรของจุ๊บลมเราตลอดเวลา ให้ลมยางเราออกมา เพื่อใช้วัดแรงดัน แล้วแสดงให้เราเห็นเป็นสีๆ ฉะนั้น หากลูกยางของฝาวัดแรงดันลม มันเก่า หรือแข็งตัว เก็บลมไม่อยู่ ก็จะกลายเป็นเหมือนฝาปล่อยลมทันทีครับ เลยอยากเตือนให้พวกเราพิจารณาอุปกรณ์ตกแต่งบางชนิดที่ใช้กับรถของเราด้วย เพราะบางอย่างก็เป็นผลดี […]

ฝาจุ๊บ สำคัญนะ!!! ภาคพิเศษ

กลับมาเรื่องเบาๆ (แต่สาระแน่น) บ้างนะครับ     นิตโตะซัง เคยเขียนถึงเรื่อง “น้องจุ๊บ” ไปแล้ว ทำนองว่าทุกครั้งที่เปลี่ยนยาง ก็ควรจะเปลี่ยนจุ๊บลมใหม่ทุกครั้ง เพราะจุ๊บก็จะเสื่อมสภาพไปตามเวลาเหมือนยางนั่นแหละ ยกเว้นกรณีจุ๊บที่เป็นเหล็กก็ต้องตรวจดูลูกยางที่บ่ารูจุ๊บว่ายังสภาพดีอยู่ไหม มีรอยร้าวหรือแตกไหม ถ้ายังใช้ได้ ก็ให้ช่างขันให้แน่นขึ้นอีกนิดด้วยครับ      โดยหลักๆ จุ๊บเติมลม มี 2 ประเภท คือ จุ๊บยาง กับ จุ๊บเหล็ก และทั้งสองประเภทมีหลายเกรด แล้วแต่ร้านว่าจะเอาแบบไหนมาขาย ฉะนั้นก่อนใช้ต้องพิจารณาด้วย อย่าเห็นแก่ของถูกครับ       มาที่ฝาจุ๊บลมกันต่อ ไม่ได้โจมตีผู้ผลิตนะครับ แต่ใครที่ใช้จุ๊บลม เป็นรูปจำพวกหน้ายิ้ม รูปจรวด ที่ขายตามท้องตลาดอยู่ ถอดออกได้ก็ถอดนะครับ เพราะมันทำมาจากอลูมิเนียม รู้มั้ยครับว่าขณะที่รถวิ่งอุณหภูมิที่ล้อ และยางจะสูงขึ้น เมื่อใช้ไปนานๆ ฝาอลูมิเนียมจะทำปฏิกิริยากับแกนของจุ๊บซึ่งเป็นทองเหลือง จนบางทีถึงขั้นติดและขันไม่ออก บางรายถึงขั้นต้องไปร้านยางเพื่อให้เค้าตัดจุ๊บทิ้ง อีกอย่าง ฝาจุ๊บเหล่านี้คุณภาพการผลิตไม่ดีเท่าทีควร บางทีก็เกลียวหวาน บางครั้งก็ปีนเกลียวอีกต่างหาก   แนะนำว่าถ้าใครชอบความสวยงามให้ใช้ฝาสแตนเลส ซึ่งจริงๆ […]

โอเวอร์เสตียริง !!!

มาว่ากันต่อกับ อาการ โอเวอร์เสตียริง (Over steering) และวิธีแก้ไขนะครับ       อาการ โอเวอร์เสตียริง ทั่วไปมักเรียกว่า “ท้ายปัด” เกิดขึ้นเมื่อขับรถเข้าโค้งอย่างเร็ว หรือเร่งในโค้ง จนเกินขีดจำกัดของแรงเสียดทานจากยางที่จะยึดเกาะถนนได้ หากมีอาการมากเกินไปจะเกิดอาการ “รถหมุน” ซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้ที่อยู่ในรถ และรอบข้างนอกด้วย เพราะผู้ขับขี่ทั่วไปจะไม่สามารถควบคุมรถได้เลยจนกว่ารถจะหยุดหมุนเอง ซึ่งมักเกิดขึ้นกับรถขับเคลื่อนล้อหลังเป็นส่วนใหญ่ครับ   อาการนี้เกิดขึ้นเพราะ มุมลื่นไถล (Slip Angle) ของล้อหลังมีมากกว่ามุมลื่นไถลของล้อหน้า สมมติว่ารถเข้าโค้งซ้าย ล้อข้างซ้าย จะต้องหมุนช้า และน้อยรอบกว่าล้อข้างขวา แต่ถ้าเกิดกรณีล้อหลังเริ่มหมุนเร็วกว่าล้อหน้า ไม่ว่าจะจากสาเหตุไหน แสดงว่าท้ายรถเริ่มกวาดออกนอกโค้ง หมายถึง เกิดอาการท้ายปัดเข้าแล้ว   หากเกิดอาการไม่มาก ให้ถอนคันเร่งพร้อมๆ กับ  “สวน” พวงมาลัยจากทิศทางเดิม ที่เราต้องการจะเลี้ยว ก็จะสามารถดึงรถให้กลับมาในทิศทางปกติได้ แต่ถ้าท้ายเริ่มบานออกมากแล้ว สามารถแตะเบรคช่วยเบาๆ ได้เช่นกัน   ในชีวิตประจำวันเราสามารถหลีกเลี่ยง การ อันเดอร์เสตียริง และ โอเวอร์เสตียริง ได้ด้วยการฝึกสังเกตโค้งข้างหน้า […]

อันเดอร์สเตียริง !!!!

ตอนก่อน นิตโตะซัง เขียนถึงอาการที่เกิดขึ้นกับรถ เมื่อรถเสียการทรงตัว ได้แก่อาการ อันเดอร์เสตียริง (Under steering) และ โอเวอร์เสตียริง (Over steering) วันนี้เรามาทำความเข้าใจในแต่ละอาการ พร้อมวิธีแก้ไขเมื่อเกิดอาการเหล่านี้ขึ้นนะครับ   อันเดอร์เสตียริง (Under steering) ภาษาปากเรียกกันว่า “หน้าแถ” หรือ “หน้าดื้อโค้ง” อาการ คือ เลี้ยวโค้งได้น้อยกว่าที่หักพวงมาลัย เกิดขึ้นเมื่อขับรถเข้าโค้งอย่างเร็ว หักพวงมาลัยอย่างเร็ว หรือเร่งในโค้ง จนเกินขีดจำกัดของแรงเสียดทานจากยางที่จะยึดเกาะถนนได้ ซึ่งเกิดขึ้นกับรถขับเคลื่อนล้อหน้าเป็นส่วนใหญ่ครับ ถ้าเราขับตรงๆ จะมีแรงกระทำไปด้านหน้า แต่เมื่อเราหักเลี้ยวพวงมาลัยแล้ว หากล้อหน้าเกิดอาการลื่นไถล ทิศทางของแรงก็ยังพยายามดันให้รถตรงไปด้านหน้าอยู่ดี เมื่อเกิดอาการแบบนี้ เราจะรู้สึกว่า โค้งนอกจะเข้ามาใกล้เรื่อยๆ ถ้าไม่แก้ไขอาการก็จะขับตกถนน ที่เรียกกันว่า “แหกโค้ง” การแก้ไข หากมีอาการไม่มาก สามารถทำได้ด้วยการถ่ายน้ำหนักให้กดลงไปล้อหน้าที่ลื่นมากขึ้น โดยให้ยกเท้าออกจากคันเร่ง ซึ่งเมื่อยกเท้าออกน้ำหนักจะกดไปที่ล้อหน้า ทำให้ล้อจับถนนได้ดีขึ้น และ หากมีอาการดื้อมากๆ สามารถแตะเบรกช่วยได้เบาๆ ทั้งสองวิธีนี้ ให้คงตำแหน่งเลี้ยวเดิมไว้ ไม่ต้องหักพวงมาลัยเพิ่ม จะหักพวงมาลัยเพิ่มได้ในกรณีที่รถกลับมายึดเกาะถนนได้ตามปกติแล้วเท่านั้นครับ

ESP ช่วยชีวิตคุณได้ ? ตอนที่ 2

การเสียการทรงตัวในโค้งมีอยู่ 3 กรณีด้วยกันครับ คือหน้าไถล หรือ  ดื้อโค้ง หรือ อันเดอร์เสตียริง กับ “ท้ายปัด” เลี้ยวเข้าในโค้งเกินกว่าที่ผู้ขับต้องการ หรือ โอเวอร์เสตียริง        ถ้าเป็นกรณีแรก ESP จะ “สั่ง” ให้เบรกของล้อหลังในโค้ง ทำงานเสริมเป็นพิเศษล้อเดียว (ถ้าผู้ขับ  กำลังเบรกอยู่แล้ว ESP ก็จะเบรกล้อนี้แรงกว่าเป็นพิเศษ) ถ้าเป็นกรณีหลัง จะให้ล้อหน้านอกโค้งถูกเบรกเป็นพิเศษและขณะเบรกก็จะผ่อนคันเร่งด้วย แต่ไม่ว่าจะเป็นแบบไหนก็ตาม ความเร็วของรถต้องไม่เกินกว่าที่แรงเสียดทานและระบบจะรับได้นะครับ เพราะไม่ มีอะไรอยู่เหนือกฎเกณฑ์ทางฟิสิกส์ได้ ถ้าเข้าโค้งมาเร็วเกินลิมิตไปมาก ถึง ESP จะพยายามทำงานก็หมดความหมาย  เพราะรถก็จะไถลออกนอกโค้งไปทั้งคันอยู่ดี     ส่วนการเสียหลักของรถแบบที่ 3 เกิดขึ้นได้แม้รถจะมีอาการเป็นกลางครับ คือไม่ทั้งโอเวอร์ และ ไม่อันเดอร์เสตียริงแต่มันจะ แหกโค้งไปทั้งคัน ทั้งๆ ที่ตัวรถยังอยู่ในแนวเดียวกับถนน   ผมมีได้สถิติที่เชื่อถือได้ ยืนยันประโยชน์ของ ESP อย่าง  ชัดเจน โดยสมาคมผู้รับประกันภัยในเยอรมนี […]

ESP ช่วยชีวิตคุณได้ ? ตอนที่ 1

ตอนก่อน นิตโตะซัง เขียนถึงอาการที่เกิดขึ้นกับรถ เมื่อรถเสียการทรงตัว ได้แก่อาการ อันเดอร์เสตียริง (Under steering) และ โอเวอร์เสตียริง (Over steering) วันนี้เรามาทำความเข้าใจในแต่ละอาการ พร้อมวิธีแก้ไขเมื่อเกิดอาการเหล่านี้ขึ้นนะครับ   อันเดอร์เสตียริง (Under steering) ภาษาปากเรียกกันว่า “หน้าแถ” หรือ “หน้าดื้อโค้ง” อาการ คือ เลี้ยวโค้งได้น้อยกว่าที่หักพวงมาลัย เกิดขึ้นเมื่อขับรถเข้าโค้งอย่างเร็ว หักพวงมาลัยอย่างเร็ว หรือเร่งในโค้ง จนเกินขีดจำกัดของแรงเสียดทานจากยางที่จะยึดเกาะถนนได้ ซึ่งเกิดขึ้นกับรถขับเคลื่อนล้อหน้าเป็นส่วนใหญ่ครับ ถ้าเราขับตรงๆ จะมีแรงกระทำไปด้านหน้า แต่เมื่อเราหักเลี้ยวพวงมาลัยแล้ว หากล้อหน้าเกิดอาการลื่นไถล ทิศทางของแรงก็ยังพยายามดันให้รถตรงไปด้านหน้าอยู่ดี เมื่อเกิดอาการแบบนี้ เราจะรู้สึกว่า โค้งนอกจะเข้ามาใกล้เรื่อยๆ ถ้าไม่แก้ไขอาการก็จะขับตกถนน ที่เรียกกันว่า “แหกโค้ง” การแก้ไข หากมีอาการไม่มาก สามารถทำได้ด้วยการถ่ายน้ำหนักให้กดลงไปล้อหน้าที่ลื่นมากขึ้น โดยให้ยกเท้าออกจากคันเร่ง ซึ่งเมื่อยกเท้าออกน้ำหนักจะกดไปที่ล้อหน้า ทำให้ล้อจับถนนได้ดีขึ้น และ หากมีอาการดื้อมากๆ สามารถแตะเบรกช่วยได้เบาๆ ทั้งสองวิธีนี้ ให้คงตำแหน่งเลี้ยวเดิมไว้ ไม่ต้องหักพวงมาลัยเพิ่ม จะหักพวงมาลัยเพิ่มได้ในกรณีที่รถกลับมายึดเกาะถนนได้ตามปกติแล้วเท่านั้นครับ

รถเก๋งขับ 4 กับ ยาง!!! ตอนที่ 3

นิตโตะซัง ขอทวนความนิดนึงนะครับ จุดประสงค์หลักของผู้ผลิตรถเก๋งขับเคลื่อน 4 ล้อ (Full Time) เหล่านี้ คือ ต้องการให้ได้แรงขับเคลื่อนสูงบนผิวลื่น โดยส่งแรงขับเคลื่อนไปยังล้อทั้ง 4 คราวนี้สมมติว่าล้อหน้า ไม่ว่าจะล้อเดียว หรือ 2 ล้อก็ตาม อยู่บนผิวที่ลื่นกว่าล้อหลัง แล้วหมุนฟรี แรงบิดรวม หรือแรงขับเคลื่อนของล้อคู่หน้าก็ จะลดลง แรงบิดรวมของล้อคู่หลัง ก็จะลดลงเหมือนล้อคู่หลังเสมอ เป็นอันว่าถ้าล้อคู่หน้ากำลังตะกาย กรวดหรือหิมะ แทนที่ล้อคู่หลังจะมีแรงขับเคลื่อนช่วย ก็กลับหมดแรงไปด้วย   โรงงานรถก็เลยใช้เฟืองกลางแบบลิมิเต็ด สลิพ ดิฟเฟอเรน หรือ LSD นี่แหละครับมาแก้ปัญหานี้  ที่ทำงานโดยหลักที่ว่า ล้อ (หรือเพลา) ที่หมุนเร็วกว่า หมายความว่า ล้อนั้นกำลังลื่น และมีแรงบิดน้อยกว่า (ซึ่งไม่จริงเสมอไป) ยกตัวอย่างเช่น ตอนที่เราเลี้ยวรถขับเคลื่อน 4 ล้อบนถนนแห้ง หรือ “ดี” ปกติ ล้อทั้ง 4 ควรมีแรงขับเคลื่อนเท่าๆ กัน แต่เฟืองกลางแบบ […]

รถเก๋งขับ 4 กับ ยาง!!! ตอนที่ 2

นิตโตะซัง เชื่อว่า เราทราบกันดีอยู่แล้วว่า ขณะที่รถขับเคลื่อน 2 ล้อกำลังเลี้ยวนั้น ล้อด้านนอกจะหมุนเร็วกว่าล้อด้านใน ถ้าเราต้องให้แรงขับเคลื่อนของล้อทั้ง 2 ข้าง มีอยู่เท่ากันตลอดเวลา และล้อทั้ง 2 ข้างสามารถหมุนด้วย ความเร็วต่างกันได้ด้วย ก็ต้องออกแบบเฟืองขึ้นชุดหนึ่งให้ทำงานได้ตรงกับเงื่อนไขนี้ ที่เรารู้จักกันดีในชื่อ “เฟืองท้าย” นั่นแหละครับ อันที่จริงมันก็เป็น “เกียร์” รูปแบบหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นรถขับเคลื่อนล้อหน้า หรือล้อหลัง ก็ต้องมีเกียร์ที่ทำงานแบบเฟืองท้ายนี้เสมอ   ถ้าเป็นรถขับเคลื่อน 4 ล้อ ก็ต้องมี “เฟืองท้าย” หรือ ดิฟเฟอเรนเชียล (Differential) ข้างหน้าหนึ่ง ชุด และข้างหลังอีกหนึ่งชุด เครื่องยนต์ของรถขับเคลื่อน 4 ล้อ ก็ส่งกำลังผ่านเกียร์ไปสู่ล้อ เช่นเดียวกับ รถขับเคลื่อน2 ล้อนั่นแหละ   คราวนี้ลองดูความเร็วของล้อคู่หน้าและล้อคู่หลังบ้างครับ แน่นอนว่าถ้าขับทางตรงย่อมเท่ากัน แต่ถ้ากำลังเลี้ยวหรือขับอยู่ในโค้ง ความเร็วเฉลี่ยของล้อคู่หน้า ย่อมต้องมากกว่าความเร็วเฉลี่ยของล้อคู่หลังครับ ดังนั้น รถขับเคลื่อน 4 ล้อ (Full […]

รถเก๋งขับ 4 กับ ยาง !!! ตอนที่ 1

นิตโตะซัง ไม่รู้ใครใช้รถเก๋งขับเคลื่อน 4 ล้อ (Full Time) อยู่บ้างนะครับ บางคนใช้เพราะเชื่อว่ามันจะเกาะหนึบกว่ารถที่ขับเคลื่อนแค่ 2 ล้อ ไม่ว่าจะล้อหน้าหรือล้อหลัง แต่ถ้ามันดีจริงแล้ว ทำไม่รถเก๋งหรูๆ สมรรถนะสูงๆ ระดับโลกหลายรุ่น ถึงยังใช้ระบบขับเคลื่อนล้อหลังกันอยู่ ?   ลองหาคำตอบแรกกันก่อนนะครับ ว่าระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ ดีกว่าระบบขับเคลื่อน 2 ล้อจริงหรือเปล่า ยกตัวอย่างแรกเป็นรถขับเคลื่อนล้อหลังนะครับ เริ่มตั้งแต่เพลาข้อเหวี่ยงในเครื่องยนต์ ซึ่งส่งแรงบิดผ่านเกียร์ แล้วส่งให้เพลากลาง ไปที่เฟืองท้าย แล้วแยกไปยังเพลาขับไปถึงล้อ จากนั้นล้อจึงส่งกำลังสู่ผิวถนนในรูปของแรงที่หน้ายาง แนวแรงที่หน้ายางมีทิศไปทางด้านหลัง กระทำต่อถนน เกิด แรงปฏิกิริยาของผิวถนน ที่กระทำต่อหน้ายางในทิศตรงกันข้ามกัน คือ ไปทางด้านหน้า และเนื่องจากถนนถูกตรึงอยู่กับพื้นโลก รถของเราเลยถูกแรงปฏิกิริยาของแรงขับเคลื่อนนี้ “ผลัก” ไปทางด้านหน้า… นี่อธิบายละเอียดเลยนะครับ   ในตัวอย่างของเรานี้ ล้อหลังจึงเป็นล้อขับเคลื่อน ถ้าอยู่ในสภาวะปกติ เช่น ผิวถนนแห้ง สะอาด ไม่มีฝุ่น ทราย แรงขับเคลื่อนที่ล้อหลังเพียง 2 […]

แม็ก กับ หมา !!!

อยากมีล้อสวย แต่ที่บ้านมีหมา ต้องแก้ปัญหากันตั้งแต่เลือก ล้อแม็ก เลยครับ เราควรพิจารณา ซื้อล้อที่เป็นลายโปร่ง สามารถล้างได้ง่ายๆ ไม่มี ซอก หรือ ร่อง ที่อาจทำให้เกิดการขังของน้ำหรือความชื้นได้ง่ายๆ     นอกจากนี้ควรหาล้อที่เป็นชนิด พ่นสีเต็มวง (Full Painted Wheel) จะดีกว่า การใช้ล้อแบบ หน้าเงา หรือ ขอบเงา (Polished Wheel) เพราะล้อที่หน้ากลึงเงา การปกป้องจะด้อยกว่า เนื่องจากมีเพียงฟิล์มของ แลกเกอร์ เคลือบอยู่เพียงอย่างเดียว ซึ่งต่างจากล้อที่พ่นสีเต็มวง เพราะล้อจะมีชั้นของสีรองพื้น + ชั้นสีทับหน้า + แลกเกอร์ จึงทนทานกว่า   แต่ที่สำคัญ นิตโตะซัง แนะนำว่าควรแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ โดยการฝึกนิสัยหมาของเราให้ฉี่เป็นที่เป็นทาง (ซึ่งอาจยากสุด 55)   ฉะนั้น การป้องกัน เช่น การนำแผ่นไม้อัด, แผ่นพลาสติกแข็ง หรือ ผ้าคลุมรถบังไว้ เพื่อปกป้อง […]

โดนประจำ ทำยังไง ?

โดนกันประจำเลยครับ ทั้ง ยางมะตอย และ ฉี่หมา อันหลังนี่ทั้งเจ็บใจ ทั้งเหม็นครับ!!!     ยางมะตอย : ยางมะตอยที่ติดตามล้อ แถมขัดออกยาก หา น้ำมันสน หรือ น้ำมันก๊าด จุ่มกับ เศษผ้า เช็ดตามจุด ที่ ยางมะตอย ติด หลังจากนั้น ล้าง ล้อแม็ก ด้วย แชมพูล้างรถ หรือไม่ ก็เอา น้ำยาล้างจาน แทนก็ได้ ตามด้วย ล้างน้ำเปล่าซ้ำ แล้วเช็ดให้แห้ง หากอยากให้ ล้อแม็ก ของท่านสวยเงางาม ก็หายาขัดชนิดละเอียดที่สุด ลูบหรือเช็ดเบาๆ ( หลีกเลี่ยงการขัดอย่างรุนแรง ) เพราะจะทำให้ แลคเกอร์ ที่เคลือบนั้น บางลง ซึ่งจะทำให้การปกป้องของสี ลดลงตามไปด้วย   ฉี่หมา : ฉี่น้องหมา มีคุณสมบัติเป็นกรดชนิดหนึ่ง เมื่อสัมผัสกับ […]

ดูแล ล้อแม็ก ยังไงให้แจ่ม !

คราบสิ่งสกปรกที่จะเข้ามาติดกับ ล้อแม็ก ของคุณมีทั้งคราบน้ำมัน ฝุ่นผงจากผ้าเบรค เศษหิน ดิน โคลน ต่างๆ รีบล้างออกครับด้วยน้ำสบู่อ่อนๆ แล้วถึงล้างด้วยน้ำสะอาด ระวังอย่าใช้แปรงหรือเส้นใยสังเคราะห์ที่แข็งกระด้าง รวมไปถึงพวกยาขัดสี โดยเด็ดขาดครับ   ที่สำคัญ คือ ให้หลีกเลี่ยงการล้างล้อแม็ก ตอนที่ ล้อแม็ก กำลังร้อนอยู่ เพราะเมื่อเราล้างด้วยน้ำสบู่ มักจะแห้งเร็วทำให้เกิดคราบเป็นจุดติดที่หน้าล้อได้ ดังนั้นจึงควรปล่อยให้ ล้อแม็ก เย็นก่อนทุกครั้งที่ล้าง   การทำความสะอาดควรใช้น้ำฉีดล้างบริเวณที่ถูสบู่ไปแล้ว แต่ต้องล้างก่อนที่คราบรอยแห้งของสบู่จะค้างติดอยู่นะครับ ควรใช้ฟองน้ำนุ่มๆ ถูบริเวณ ล้อแม็กซ์ และควรมี ฟองน้ำหรือผ้าแยกกันต่างหากระหว่างการล้าง ล้อแม็ก กับการล้างส่วนอื่นของตัวรถ เพราะล้อเป็นส่วนที่มีสิ่งสกปรกได้ง่าย ถ้าใช้ฟองน้ำเดียวกัน ก็จะทำให้สิ่งสกปรกหรือเม็ดทรายไปติดหรือทำลายผิวสีของส่วนอื่นก็ได้ครับ ส่วนล้อที่เป็นลักษณะขอบเงา การดูแลอาจต้องดูแลเป็นพิเศษ เพราะส่วนใหญ่มักจะ เคลือบ แลคเกอร์ ไว้ ความคงทนก็ย่อมด้อยกว่า การทำสี ดังนั้นไม่ควรใช้แปรงที่ขนแข็ง หรือใช้วัสดุอื่น ขัดอย่างรุนแรง เพราะจะทำให้ ฟิลม์ แลคเกอร์ ซึ่งค่อนข้างบางอยู่แล้วสึก คราบขี้เกลือ (สนิมขาว […]

ล้อแม็กป่วย!!! ตอนที่ 2

มาว่ากันต่อถึงปัญหาพวกที่มักพบ กับ ล้อแม็ก บ่อยๆ นะครับ       2. รอยครูด : เกิดจาก ล้อแม็กซ์ ของเรากระทบ หรือ ครูดกับขอบถนน ทำให้เนื้อล้อเป็นรอยหรือบางลงทันที อีแบบนี้เห็นได้ง่าย ผลเสียส่วนใหญ่ก็เกี่ยวกับเรื่องของความสวยงาม แต่หากปล่อยไว้นานก็จะทำให้ส่วนที่ชำรุดนั้นเป็นขี้เกลือลามต่อไปได้   หากเกิดปัญหานี้ ไม่เร่งด่วนมากแต่ก็ให้รีบนำล้อที่มีปัญหาเข้าทำการตรวจสอบ หรือ ซ่อมเสียทีเมื่อมีโอกาส   3. ลมรั่วซึม : อาการคือยางเก็บลมไม่ค่อยอยู่  สังเกตง่ายๆ คือ ลมยางอ่อนลงเร็ว ต้องเติมลมบ่อยกว่าปกติ  ส่วนใหญ่ มักไม่เกิดพร้อมกันทั้ง 4 วง แต่มักเกิดเป็นบางวงเท่านั้น   ถ้าไม่ใช้จุ๊บลมเสียหรือยางรั่ว อาจเกิดจากลมซึมออกที่บริเวณขอบล้อและขอบยาง เพราะมีการซ่อมโดยถูกกลึงขอบมาแล้ว ทำให้บางเกินไป, มีสิ่งแปลกปลอมตกค้างระหว่างขอบยางกับขอบล้อ, ล้อแม็กร้าว ทำให้ลมแทรกออกมาตรงจุดที่ร้าว หรือ เนื้อ ล้อแม็กมีรุนพรุนเป็นตามด ถ้าเกิดปัญหาเหล่านี้ ให้รีบ นำล้อเข้าทำการตรวจสอบและซ่อมทันทีครับ

ล้อแม็กป่วย!!! ตอนที่ 1

หลายคนถาม นิตโตะซัง เข้ามาว่า เราจะรู้ได้ยังไงว่า ล้อแม็ก ที่ใส่อยู่ในรถของเราอยู่ในสภาพดีอยู่หรือไม่ ?    เพราะผ่านการใช้งานมานานบนถนนบ้านเราที่ไม่ค่อยจะราบเรียบนัก   ปัญหาที่มักพบ กับ ล้อแม็ก บ่อยๆ ก็คือ   1. ล้อดุ้ง : อาจมีสาเหตุมาจากการกระแทก ไม่ว่าจะเป็นหลุม, บ่อ , สันรอยต่อถนน , ยางแตก หรือ กระแทกกับขอบถนน จนทำให้ล้อแม็กของเราไม่กลม  ซึ่งเราสามารถสังเกตได้ครับ ถ้า…   ระหว่างการขับขี่ มีอาการสั่นผิดปกติ โดยอาจเทียบกับเมื่อตอนแรกที่เริ่มใช้กับตอนนี้ ว่ามีความแตกต่างแค่ไหน  ถ้าสั่น ให้ลองตรวจดูด้วยตาหรือสังเกตที่ล้อของเรา เช่น พิจารณาดูว่าล้อดุ้ง หรือเบี้ยวหรือเปล่า เพราะหากเป็นมากก็จะเห็นชัดโดยเฉพาะด้านนอกล้อ  แต่หากเป็นด้านในล้อ ก็อาจมองยากหน่อย  ต่อจากนั้นให้ขึ้นแม่แรง ใช้มือหมุนล้อ แล้วสังเกต ทั้งด้านนอกและด้านใน ว่า มีอาการแกว่ง หรือ  โยนโยกเยกบ้างหรือไม่ ถ้าเหลือบ่ากว่าแรง ตรวจแล้วก็ไม่พบ แต่รู้สึกว่าล้อยังแกว่ง การตรวจด้วยเครื่องมือด้วยการนำรถเข้าไปเช็คที่ศูนย์บริการ […]

ค่าต่างๆ บนล้อ ที่เราควรรู้ !

มาติดตาม นิตโตะซัง เรื่องเกี่ยวกับค่ามาตรฐาน และศัพท์เทคนิคที่สำคัญๆ บน ล้อแม็ก กันต่อนะครับ     JWL :  Japan Wheel Light Metal เครื่องหมายมาตรฐานสำหรับล้อรถเก๋ง ออกโดยกระทรวงคมนาคม ของประเทศ ญี่ปุ่น   JWL-T : Japan Wheel Light Metal for Truck เครื่องหมายมาตรฐานสำหรับล้อรถบรรทุกเล็ก ซึ่งออกโดยกระทรวงคมนาคม ของประเทศ ญี่ปุ่น   VIA : Vehicle Inspection Association เครื่องหมายมาตรฐาน จากสมาคมทดสอบยานยนต์ ของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งโรงงานผู้ผลิตล้อ จะต้องผ่านการตรวจสอบ จากสมาคมนี้ก่อน ถึงจะสามารถนำอักษรนี้ มาปั๊มลงบนล้อที่ขายได้   ระยะ พี.ซี.ดี : P.C.D. ย่อมาจาก Pitch Circle Diameter […]

คำศัพท์ทางเทคนิค ที่ ก่อนเลือก ล้อแม็ก ต้องรู้ !

คำศัพท์ทางเทคนิคที่ใช้เรียกจุดต่างๆ ภายในล้อแม็กมีสารพัด เช่น Rim Width / Wheel Diameter / Center Bore / PCD / Offset / Brake Pad Seat / Bolt Hole Diameter / Center Line / Flange / Rim Contour / Beat Seat / Valve Hole / Mounting Surface Diameter แต่ นิตโตะซัง ขอบอกว่าไม่จำเป็นต้องรู้หมดก็ได้ เอาเฉพาะที่สำคัญๆ และควรรู้ เพื่อที่จะได้เลือก ล้อแม็ก ที่ถูกต้องเหมาะสมกับรถของเราต่อไปครับ     ออฟเซ็ต (Offset, ET ) […]

มาคำนวณขนาดล้อและยางที่เหมาะสมกันดีกว่า

นิตโตะซัง ขอยกตัวอย่างล้อและยางขนาด 185/75 R14 ให้ทราบกันว่า ตัวเลขแต่ละตัวมีความหมายว่าอย่างไร และมาลองคำนวณขนาดล้อและยางที่เหมาะสมกันครับ     ตัวเลขแรก คือ ขนาดความกว้างของยาง (Side Wall) ซึ่งจะกว้างกว่ายางทั้งหมด หน่วยเป็นมิลลิเมตร เช่น 185 ก็มีความกว้างของยาง 185 มิลลิเมตร   ตัวเลขที่สอง คือ Aspect Ratio หรือที่เราชอบเรียกว่าซีรีส์หรือความหนาของแก้มยาง  เวลาเราไปซื้อยางซีรีส์ 50, 45 หรือ 40 เป็นการเทียบขนาดความสูงของยาง (แก้มยาง) เป็นร้อยละต่อความกว้างของยาง เช่น ในกรณีนี้ความสูงของแก้มยางจะเท่ากับ 111 มิลลิเมตร (185 x 60/100)   ตัวเลขสุดท้าย คือ เส้นผ่านศูนย์กลางของกระทะล้อ หรือความสูงของวงล้อ มีขนาดเป็นนิ้ว ในกรณีนี้มีขนาด 14 นิ้ว   เราสามารถคำนวณหาความสูงสุทธิของวงล้อรวมยางได้จากการบวกความสูงของยางทั้งด้านบนและด้านล่าง เข้ากับความสูงของวงล้อ ซึ่งในกรณีนี้ความสูงของยางเท่ากับ […]

เปลี่ยน แม็ก ใหม่ เลือกยางไซส์ไหนดี ?

หลายคนถาม นิตโตะซัง มาว่า ถ้าหากอยากเปลี่ยนล้อให้ใหญ่ขึ้น จะมีผลอะไรหรือเปล่า เช่น เดิมขอบ 14 หรือ 15 นิ้ว จะเปลี่ยนเป็นขอบ 16 หรือ 17 นิ้ว จะส่งผลอะไรบ้าง ?     ล้อแม็ก ขนาดเดิมที่ติดมากับรถ โดยมากเรามักจะมองว่าเล็กไป หรือสวยน้อยไปหน่อย จะเปลี่ยนก็ได้ตามกำลังทรัพย์และความพอใจครับ แต่สิ่งที่ต้องคำนึงถึง ก็คือขนาด ล้อแม็ก กับ ยาง จะต้องมีความสัมพันธ์กันด้วย   ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น ถ้าเปลี่ยนให้ล้อเล็กลง เส้นผ่านศูนย์กลางของยางน้อยลง ซีรี่ส์ (แก้ม) ยางก็ควรจะหนาขึ้น หากต้องการใส่ ล้อแม็ก ที่ใหญ่ขึ้น เส้นผ่านศูนย์กลางมากขึ้น ซีรี่ส์ ยางก็จะต้องบางลง เพื่อรักษาระดับเส้นผ่าศูนย์กลางของทั้งล้อและยางรวมกัน   เข้าใจง่ายๆ ก็คือ ต้องรักษาระดับความสูงขอล้อและยางให้ใกล้เคียงกับค่ามาตรฐานของรถรุ่นนั้นๆ มากที่สุด ไม่เช่นนั้นจะเกิดผลเสียตามมา เช่น เข็มไมล์เพี้ยน  ระบบช่วงล่างพังก่อนเวลาอันควร […]

ล้อแม็กซ์ มีกี่ประเภท

ประเภทของ ล้อแม็กซ์ ถ้าแบ่งโดยดูจากโครงสร้างหรือรูปทรง ปกติแล้วเราจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ครับ 1. ล้อแม็ก แบบชิ้นเดียว (1 Piece Wheel)    เป็นล้อที่มี Rim กับ Disk ถูกสร้างขึ้นมาเป็นชิ้นเดียว   2. ล้อแม็ก แบบประกอบ (Assembly Wheel) เป็นล้อที่มี Rim กับ Disk มาประกอบกัน โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ   2.1) ล้อแม็ก 2 ชิ้น (2 piece Wheel) เป็นล้อที่มี 2 ชิ้นส่วนมาประกอบกันคือ Rim กับ Disk 2.2) ล้อแม็ก 3 ชิ้น (3 pieces Wheel) เป็นล้อที่ประกอบเชื่อมส่วนที่เป็น Rim […]

มารู้ลึกเรื่อง “ล้อแม็ก” กันดีกว่า

ในอดีตกระทะล้อ ทำขึ้นมาจากเหล็กเป็นหลัก ซึ่งมีน้ำหนักมาก และไม่สวย ต่อมามีล้อที่ถูกผลิตขึ้นมาด้วยวัสดุที่ทำจาก แม็กนิเซียม (Magnisium) ด้วยคุณสมบัติหลักคือน้ำหนักที่เบา ระบายความร้อนได้ดี รูปแบบสวยงาม เลยเอามาใช้กับรถที่ต้องการทำความเร็ว หรือรถแข่ง แต่จากข้อด้อยในส่วนของต้นทุนที่ราคาสูง และ แม็กนิเซียม “เปราะ” และสึกกร่อนได้ง่ายจึงไม่เหมาะที่จะนำมาใช้กับรถยนต์ในท้องตลาดเท่าที่ควรครับ ต่อมาเลยได้มีการเสาะหาวัสดุมาทดแทนที่ราคาไม่สูง แต่ยังคงคุณสมบัติที่ใกล้เคียง แล้วก็ได้ อลูมิเนียม อัลลอย (Aluminium Alloy ) ซึ่งใช้มาจนถึงปัจจุบันนี้ แต่คนทั่วไปก็ยังเรียกติดปากว่า ล้อแม็ก ซึ่งมีที่มาจากล้อ แม็กนิเซียม กันมาโดยตลอด ล้อแมกซ์ กลายเป็นชิ้นส่วนชิ้นที่สำคัญ เพราะถ้าเลือกไม่ดีหรือไม่เหมาะสมกับรถ จะทำให้สมรรถนะของรถถูกลดทอนไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ความกว้าง และความแข็งแรง และคุณภาพโดยรวม ซึ่งนอกจากความสวยงามยังมีผลถึงความปลอดภัย เช่น อาการส่ายของล้อ แม็กแตก แม็กดุ้ง ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นอันตรายทั้งสิ้นครับ ฉะนั้น ไอ้เจ้า ล้อแม็ก ที่ว่าเนี่ย เราควรเลือกมันอย่างไร ? ตอนต่อๆ จากนี้ไป นิตโตะซัง จะมาแนะนำเรื่อยๆ […]

ฝนตกใส่ขับเคลื่อน 4 ล้อเกาะถนนกว่า…2 ล้อ ?!?! จริงหรือไม่

ความเชื่อที่ว่าถ้าฝนตกถนนลื่น ใครใช้รถที่มีรถสไตล์ ออฟโรด อยู่ และเป็นแบบ พาร์ทไทม์ ให้ปรับมาใช้โหมดขับเคลื่อน 4 ล้อจะปลอดภัยกว่า นิตโตะซัง ขอบอกว่าอย่าใช้ระบบขับเคลื่อนผิดประเภทดีกว่า จะได้ไม่ต้องเสียใจภายหลังครับ !   ถ้าเป็นระบบแบบ พาร์ทไทม์ ของรถกระบะและ พีพีวี บางรุ่น ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อนั้นจะช่วยให้รถเกาะถนนมากกว่าระบบขับเคลื่อน 2 ล้อ ในทางทุรกันดารเท่านั้น เพราะรถที่ใช้ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อแบบ   พาร์ทไทม์ ที่มีชุดส่งกำลังแยกเพื่อส่งกำลังไปยังล้อหน้า กำลังจากล้อหลังจะถูกแบ่งมาที่ล้อหน้า อาการท้ายปัด หรือล้อหลังฟรีก็จะน้อยลง แต่ไม่ได้หมายความว่าจะเกาะถนนดี เมื่อต้องเลี้ยวในความเร็วสูงนะครับ เพราะล้อหน้าที่ถูกแบ่งกำลังมาและถูกล็อคให้หมุนไปพร้อมกัน และเท่ากันทั้งซ้ายและขวา จะทำให้เราหักเลี้ยวได้น้อยลง และเกิดอาการ “พวงมาลัยขืน”  ทำให้ต้องใช้วงเลี้ยวที่กว้างขึ้น เพราะความเข้าใจผิด จากความเชื่อที่บอกต่อๆ กันมา เลยมีรถประเภทนี้หลุดโค้งตกให้เห็นกันเป็นประจำอย่างไม่ควรจะเป็น จำไว้นะครับเพราะนี่เป็นเรื่องของชีวิตคุณและครอบครัว แถมด้วยเพื่อนรวมถนน ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อแบบ พาร์ทไทม์ มีไว้เพื่อช่วยให้รถสามารถผ่านทางทุรกันดารได้ง่ายขึ้น คนละเรื่องกับพวกที่เป็น ฟูลไทม์ และ […]

ควรหาเวลาว่างดูแลยางรถของคุณ เพื่อยืดอายุการใช้งานยางของคุณกันเถอะครับ

นิตโตะซัง แนะนำว่า ควรตรวจสอบลมยางเป็นประจำทุก 2 สัปดาห์ หรือทุกครั้งก่อนการเดินทางไกลให้มีความดันลมยางที่เหมาะสม (ควรทำเมื่อยางอยู่ในอุณหภูมิปกติ) นอกจากนั้นควรตรวจสอบความดันลมยางของยางอะไหล่ และควรอ้างอิงความดันลมยาง จากคู่มือประจำรถของคุณ การตั้งศูนย์ ถ่วงล้อ เพื่อปกป้องช่วงล่าง ช่วยลดการสั่นสะเทือน รองรับแรงกระแทก รวมถึงระบบพวงมาลัย ทำให้ยางใช้งานได้ยาวนาน เพราะลักษณะการทรงตัวของรถเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่มีผลต่อการสึกหรอของยาง การตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอจะช่วยไม่ให้ลมยางอ่อน เสื่อมสภาพเร็วและสึกเรียบครับ  

คุณรู้มั้ยว่าลมยางสำคัญอย่างไร ?

ความดันลมยาง เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดของความปลอดภัยและเป็นตัวกำหนดสมรรถนะการขับขี่หน้าที่ของความดันลมยางก็คือ ช่วยรับน้ำหนักจากตัวรถทั้งหมด และความนุ่มนวลในการขับขี่ครับ   ถ้าความดันลมยางของคุณมากเกินไป ก็จะทำให้เกิดความกระด้างในการขับขี่และทำให้ความสามารถในการยึดเกาะถนน และการเบรกลดลง แต่ถ้าความดันลมยางของคุณอ่อนเกินไปจะมีผลทำให้สิ้นเปลืองน้ำมัน และอาจมีผลทำให้ยางเกิดการระเบิดขึ้นได้เมื่อวิ่งเป็นระยะทางไกลๆ เนื่องจากแก้มยางจะมีการยืดหดตัวมากเกินไปตลอดเวลา ทำให้เกิดความร้อนสะสม และทำให้ความดันลมขยายตัวขึ้นจนเกินขอบเขตความสามารถของยางที่จะรับไหว นอกจากนี้ความดันลมยางที่ผิดไปจากค่ากำหนดยังส่งผลทำให้ยางเกิดการสึกแบบผิดปกติด้วย     ดังนั้น นิตโตะซัง แนะนำว่า ก่อนนำรถออกใช้งานควรตรวจสอบลมยางทุกครั้ง หรืออย่างน้อยทุกๆ 2 สัปดาห์ โดยดูอัตราความดันลมยางที่เหมาะสมได้จากคู่มือรถยนต์ หรือบริเวณเสากลางด้านข้างคนขับ เท่านี้ก็จะทำให้คุณขับขี่อย่างปลอดภัย นุ่มนวลและประหยัดได้อีกด้วยครับ  

ตั้งศูนย์ล้อหน้าอย่างเดียวก็พอ ล้อหลังก็แค่วิ่งตามล้อหน้า !

อันที่จริงทุกล้อมีความสำคัญ การตั้งศูนย์ล้อควรทำทั้ง 4 ล้อครับ (ถ้าระบบช่วงล่างด้านหลังออกแบบมาให้ตั้งศูนย์ได้)  เชื่อ นิตโตะซัง หรือเปล่าครับว่า ศูนย์ล้อหลังมีความสำคัญพอๆ กับศูนย์ล้อหน้า หรืออาจจะมากกว่า เพราะมุมที่ล้อหลังเพี้ยนไปแค่เล็กน้อย ก็อาจทำให้รถเสียสมดุลเมื่อเบรค หรือเลี้ยว และทำให้รถเลี้ยวไปมากกว่าที่ตั้งใจ   เพราะฉะนั้น อย่าลืมศูนย์ล้อหลัง ถ้ารถคุณปรับตั้งได้ เรื่องนี้ถ้าถามร้านยางต่อได้ครับ แค่ช่างก้มมองปร้าดเดียวก็รู้แล้วว่าล้อหลังตั้งศูนย์ได้หรือไม่ ส่วนใหญ่ถ้าเป็นช่วงล่างแบบอิสระก็ตั้งได้แทบทุกรุ่นครับ  

เดินทางไกลลมยางอ่อนดีกว่าแข็ง !

หลายคนเข้าใจผิดว่าเวลาขับรถเดินทางไกลหรือขับเร็วๆ ต้องปล่อยลมยางออกบ้าง เพราะพิสูจน์จากที่เมื่อขับไปได้สักระยะ แรงดันลมยางจะเพิ่มขึ้น และกลัวว่าถ้าเพิ่มขึ้นมากๆ ยางจะรับไม่ไหวจนแตกระเบิดเหมือนลูกโป่งที่ถูกอัดลมมากเกินไป บางคนถึงขั้นวิ่งไปปล่อยลมไป       3 ปอนด์ เมื่อต้องเดินทางไกล เมื่อเราเติมลมยางเพิ่มขึ้น โอกาสที่ลมภายในยางจะเสียดสีกันเองจนเกิดความร้อน จนแรงดันลมยางเพิ่มขึ้น จะเป็นอัตราที่น้อยกว่าที่เราปล่อยลมยางให้อ่อนกว่าค่ามาตรฐานมหาศาลครับ ยังไงก็ตาม คู่มือการใช้และดูแลรักษายางรถยนต์ ไม่ว่าจะเป็นค่ายไหน ก็แนะนำตรงกันว่า ผู้ใช้รถควรเติมลมยางตามมาตรฐานที่ผู้ผลิตรถยนต์กำหนดไว้ และให้เพิ่มแรงดันลมยางให้สูงขึ้นอีก 2- ลมยางที่อ่อนกว่ามาตรฐานกำหนด นอกจากจะกินน้ำมันเพิ่มขึ้น ทำให้หน้ายางด้านนอกสึกมากกว่าด้านในแล้ว ยังอาจส่งผลเสียกับโครงสร้างยางได้ และมีโอกาส ยางระเบิด มากกว่ายางที่มีแรงดันลมยางตามกำหนดหรือเกินกำหนด เพราะอุณหภูมิความร้อนที่เกิดจากการเสียดสีครับ อันที่จริง นิตโตะซัง อยากบอกว่า ถ้าลมน้อย หรือแรงดันลมยางต่ำ ยางมีโอกาสจะระเบิดได้มากกว่าครับ เพราะลมภายในยางที่มีน้อยกว่าที่ควรจะเป็นจะเกิดการเสียดสีกันเองจนเกิดความร้อน เมื่อเกิดความร้อนแน่นอนว่าแรงดันต้องเพิ่มขึ้นแน่จนเสี่ยงต่อการแตกระเบิด และจะระเบิดเพราะเกิดจากแรงดันของ ลมร้อน

วันนี้นิตโตะซังมาแก้ไขความเชื่อที่ว่า “ยางหัวโล้นขับแล้วลื่น !!!! “จริงหรือไม่??

เราเชื่อกันว่ายางดอกหมดหรือยางหัวโล้นจะลื่น โดยนึกไปถึงว่าถ้าเราสวมรองเท้าที่ดอกสึกจนเรียบแล้วจะต้องลื่นกว่ารองเท้าตอนซื้อใหม่ๆ   แต่อย่าหลงประเด็นนะครับ ตอนเราสวมรองเท้า เราใช้การก้าวเพื่อถีบตัว ไม่ได้หมุนเหมือนยางรถ ฉะนั้นหลักการต่างกันครับ และถ้าจะให้ถูกต้อง ต้องบอกว่าสำหรับยางดอกหมดจะลื่นบนถนนเปียก แต่บนถนนแห้งจะเกาะถนนดีกว่ายางดอกลึกซะอีก ! ที่เป็นอย่างนี้เพราะยางรถยนต์เกาะถนนได้โดยหน้าสัมผัสครับ ยิ่งมีหน้าสัมผัสมากก็ยิ่งมีแรงเสียดทานมากเกาะถนนได้ดี ส่วนร่องยางที่มีนั้นเตรียมไว้ให้รีดน้ำออกจากหน้าสัมผัสของยาง หรือให้น้ำแทรกตัวเข้าไปอยู่ชั่วคราวได้ นี่คือหน้าที่ของมันครับ       ร่องยางของย่างบางรุ่นไม่ได้เป็นทรงตัว U แต่เป็นกึ่งตัว V ปากร่องกว้างกว่า ยอดของแท่งดอกยางจึงแคบกว่า เมื่อยางสึกลงไปร่องตื้นหรือเกือบหมด หน้าสัมผัสยางจึงมีมากที่สุด เพราะฐานของแท่งดอกยางกว้างกว่าตอนที่ยังไม่สึกมาก หากเนื้อยางยังไม่แข็งมาก ยางที่ดอกเกือบหมดหรือหมด แต่ยัง ไม่ทะลุ จะเกาะถนนแห้งได้ดีกว่ายางมีดอกมีร่องลึก เพราะเรื่องพื้นที่ของหน้าสัมผัสที่แตกต่างกัน แต่จะลื่นกว่าเมื่อเจอถนนเปียก เพราะไม่มีร่องยางช่วยรีดน้ำ ยางก็จะเหินน้ำ         อย่างที่เคยบอกครับว่า แม้โดยหลักแล้ว ยางเกลี้ยงไม่มีดอก จะเกาะถนนดีกว่า เพราะมีผิวสัมผัสมากกว่า แต่รถยนต์ของเราใช้ยางเกลี้ยงไม่ได้ เพราะต้องใช้งานในหลายสภาวะ ถ้าใช้ยางเกลี้ยงในเวลามีฝน จะไม่มีร่องดอกยางไว้คอยรีดน้ำ เมื่อเป็นอย่างนี้ ผู้ขับขี่ย่อมบังคับรถไม่อยู่  รถของเราต้องขับได้ในทุกสภาพอากาศ ยางเลยต้องมีดอก […]

ยางเก่าเก็บ…อย่าได้แคร์!!!!

แน่นอนว่ายางรถยนต์ที่ถูกเก็บสต็อกไว้ สามารถหมดสภาพได้ แม้จะยังไม่เคยใช้งานก็ตาม แต่ตัวเลขจำนวนเดือนปีที่จะถือว่าไม่น่าซื้อใช้ของแต่ละคนไม่เท่ากัน บางคนตั้งใจว่า ผลิตเกิน 3 เดือนจะไม่ซื้อ บางคน 6เดือน หรือบางคน 1 ปีกว่าๆ ยังรับได้   ความเข้าใจผิดก็คือคนที่หวาดระแวงเกินเหตุ ยางเก็บเกิน 3-6 เดือนไม่เอาแล้ว ทำเป็นว่ายางรถยนต์จะเน่าได้ง่ายๆ แบบเกี๊ยวทอดกรอบที่ต้องกินหลังจากทอดเสร็จใหม่ๆ เลย อันที่จริง หากยางได้รับการเก็บโดยไม่โดนความร้อนจัด เย็นจัด ไม่ถูกสารเคมี และจัดวางอย่างเหมาะสม จะสามารถเก็บ สต็อกได้นานถึงกว่า 5 ปีก็ยังโดยไม่เสื่อมสภาพก็ยังได้ และสามารถนำมาใช้งานได้แทบไม่ต่างจากยางที่เพิ่งผลิตออกมาใหม่ๆ ส่วนที่ตั้งแง่ว่าเกิน 3-6 เดือนจะไม่ซื้อ สงสัยต้องตระเวนหากันเหนื่อย ถ้ามีคนเข้าใจผิดกันมากๆ สงสัยอีกหน่อยต้องเหนื่อยไปดักซื้อหน้าโรงงานกันเลย ผลิตมาเก็บไว้ หากขายไม่ดี เกิน 6 เดือนแล้วจะขายไม่ออก ถ้าคิดว่าคำแนะนำนั้นเป็นเพราะกลัวขายยางเก่าเก็บไม่ได้ กลับไปอ่านผลวิจัยที่ นิตโตะซัง  เคยเขียน และรวบรวมผลวิจัยไว้ในหัวข้อ “เลิกกลัวยางเก่าได้แล้ว…สำหรับยางรถ บางทีอายุก็เป็นเพียงแค่ตัวเลข ! ”ตาม Related Link ได้เลยครับ 

อย่าเปลี่ยนยางเร็วเกินไป

คนส่วนใหญ่เชื่อและได้รับคำแนะนำว่ายางรถยนต์ต้องเปลี่ยนตามระยะทางเท่านั้นเท่านี้ หรือไม่เกินกี่ปีต้องเปลี่ยนออก แม้ว่าดอกยังไม่หมด หรือยังดูดีอยู่ก็ต้องเปลี่ยนออก หลายคนเชื่อปักใจ เพราะหวาดระแวงกลัวยางระเบิดแล้วอันตราย จริงอยู่ครับ ถ้ายางระเบิดแล้วจะเสี่ยงต่ออุบัติเหตุหรือความยุ่งยาก ต้องเปลี่ยนยางกลางทาง แต่การใช้อะไรแล้วเปลี่ยนทิ้งทั้งที่ยังไม่หมดสภาพ ผมว่าผมเสียดายทั้งเงินทั้งทรัพยากรของโลกที่ต้องเสียไปโดยยังไม่ควรเสีย ผู้ผลิตและจำหน่ายยางรถยนต์ส่วนใหญ่ แม้ว่าอยากจะขายยางเส้นใหม่เร็วๆ ก็ยังไม่เคยมีคำแนะนำให้เปลี่ยนยางเมื่อครบ 2 ปี หรือเมื่อเกิน 30,000 กิโลเมตรหรืออะไรทำนองนั้นเลย มีแต่การแนะนำว่า สามารถใช้งานได้จนดอกจะสึกถึงสัญลักษณ์ที่จุดลึกสุดของร่องยาง และถ้าดอกยังไม่หมด ถ้าดูแล้วไม่มีการแตกร้าวปริบวมก็สามารถใช้ต่อได้จนดอกสึกถึงระยะทางที่ว่า โดยไม่จำกัดปีที่ใช้   นิตโตะซัง เคยบอกไปแล้วว่า สิ่งที่จะกำหนดว่าควรหรือไม่ควรใช้ยางเส้นนั้นต่อไปมีอยู่ 2 หัวข้อ คือ ความลึกของดอกยาง การชำรุดที่ส่งผลถึงโครงสร้างยาง ถ้ายางของคุณไม่เข้าข่าย 2 หัวข้อนี้ ก็ไม่ ต้องรีบเปลี่ยนใหม่ให้เสียเงินเปล่า   ดังนั้นก่อนที่จะเปลี่ยนยางใหม่ ก็ควรแน่ใจว่ายางเส้นเดิมหมดสภาพและไม่น่าเสี่ยงใช้งานต่อแล้ว ไม่ใช่เปลี่ยนเพราะความหวาดระแวง ทั้งที่เพิ่งผ่านการใช้งานมาไม่เท่าไรเองครับ

ล้อโตกว่า ยางก็ต้องโตขึ้น….รึเปล่า????!!!!!

ในกรณีที่จะเปลี่ยนล้อแม็กซ์ให้มีขาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่ขึ้น ตามสไตล์ล้อแม็กซ์วงโต + ยางแก้มเตี้ย เช่น ล้อเดิมขอบ 15 นิ้ว จะเปลี่ยนเปลี่ยนเป็นขอบ 17 นิ้ว     หลายคนเข้าใจผิด โดยรีบสรุปว่ายางที่ใช้กับกระทะล้อขอบ 17 นิ้ว ต้องมีขนาดใหญ่กว่ายาง 15 นิ้วแน่ๆ เพราะไปมองไปอิงกับตัวเลขขอบกระทะล้อ ทั้งที่นั่นคือเส้นรอบวงด้านในของยาง  ไม่ใช่ เส้นรอบวงด้านนอก ความเป็นจริงแล้วยางจะมีเส้นรอบวงมากหรือมีความสูงโดยรวมเท่าไร ไม่เกี่ยวกับขนาดของกระ ทะล้อหรือที่ชอบเรียกกันว่า “ขอบกี่นิ้ว” นัก เพราะต้องขึ้นอยู่กับความสูงของแก้มยาง ซึ่งก็ขึ้นกับความกว้างและซีรีส์ด้วยครับ ยางขอบ 17 นิ้ว ซีรีส์ต่ำ แก้มเตี้ย บางเฉียบ อาจจะมีเส้นรอบวงน้อย และมีความสูงโดยรวมน้อย กว่ายางขอบ15 นิ้ว ซึ่งมีซีรีส์สูง และแก้มหนาก็ได้ครับ

ซีรีส์สูง แก้มยางสูง ?!?

นิตโตะซัง เอาตัวอย่างเดิมของครั้งที่แล้วนะครับ 215/45R17 ตัวเลข 2 หลักชุดที่ 2 คือ 60 หมายถึงซีรีส์ของยาง หลายคนเข้าใจผิดว่า ยางที่มีตัวเลขซีรีส์มาก จะต้องมีแก้มสูงกว่ายางที่มีซีรีส์น้อยกว่าเสมอ   อันที่จริง ตัวเลขซีรีส์ หมายถึง ความสูงของแก้มยางที่คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของความกว้างของยาง เส้นนั้นๆ ฉะนั้น ถ้าต้องการทราบความสูงจริงของแก้มยาง ก็ต้องมีการคำนวณก่อน   จากตัวอย่าง ยางเส้นนี้ มีความสูงของแก้มยาง เป็น 45 เปอร์เซ็นต์จากความกว้าง 215 มิลลิเมตร คำนวนด้วยวิธี 215 X (45/100) = 96.75 มิลลิเมตร ถ้าไม่ผ่านการคำนวณ จะสรุปลอยๆ ไม่ได้ว่า ยางซีรีส์ 55 จะมีแก้มยางจริงสูงกว่ายางซีรีส์ 45 หากมีความกว้างของยางต่างกัน ถ้าจะเดาความสูงของแก้มยาง ก็ต้องดูตัวเลข 3 หลักแรก คือ ความกว้างของยางด้วย แต่ถ้าจะให้แม่นยำก็ต้องเอาไปคำนวณกันก่อนครับ

ความกว้างของยาง VS ความกว้างของหน้ายาง

เรื่องราวเกี่ยวกับยางรถยนต์ ยังมีความเข้าใจผิดในวงกว้าง จนบางคนมีความคิดฝังหัวว่าเป็นหลักการที่ถูกต้องซะงั้น   นิตโตะซัง จะมาไขข้อเข้าใจผิดให้เคลียร์กันไปเป็นเรื่องๆ ครับ   บนแก้มยางทุกเส้นจะระบุขนาด ต่างๆ ของยางเส้นนั้นไว้ สำหรับยางทั่วไปจะมีการระบุไว้ เช่น 215/45R17ใช่ไหมครับ ตัวเลข 3 หลักแรกบางคนเข้าใจผิด โดยเข้าใจว่าเป็นความกว้างของหน้ายางที่สัมผัสถนน มีหน่วยเป็นมิลลิเมตร ตามตัวอย่าง คือ คิดว่ายางเส้นนี้มีหน้ากว้าง 215 มิลลิเมตร แต่อันที่จริง ตัวเลข 3 หลักแรกเป็นความกว้างของยางจากแก้มยางซ้ายไปจนถึงแก้มยางขวา ไม่ใช่ความกว้างของหน้ายางที่สัมผัสพื้นครับ วิธีการตรวจสอบง่ายๆ ตัวเลข 3 หลักนี้ ก็คือ เอายางเส้นนั้นใส่กับกระทะล้อ วัดความกว้างของยางจากส่วนที่กว้างที่สุด ซึ่งมักจะเป็นส่วนโค้งของแก้มยางที่ป่องออกมา จากแก้มข้างหนึ่งมายังอีกข้างหนึ่ง โดยวัดรวมทุกอย่างที่กว้างที่สุด ถ้าบังเอิญมีตัวอักษรตัวเลขหล่อนูนออกมา ก็ ต้องวัดรวมด้วย แล้วก็จะได้ค่าความกว้างนั้นออกมา     ตัวเลข 3 หลักแรกที่ระบุไว้ เช่น 215 จะเป็นความกว้างของยางในส่วนที่ป่องที่สุด ซึ่งเป็นแก้มยาง ส่วนความกว้างของหน้ายางจริง จะไม่มีการกำหนดไว้ ถ้าลองวัดดู […]

ยี่ห้อ/รุ่น ของยาง สำคัญยังไง ?!? ตอนที่ 2

อันที่จริงผู้ใช้มีหน้าที่เลือกใช้ยางตามที่ผู้ผลิตรถเขากำหนดไว้อย่างเคร่งครัด ในคู่มือประจำรถมักบอกเพียงขนาดและระดับความเร็วสูงสุดของยางไว้เท่านั้น ถ้าเป็นรถความเร็วสูงบางรุ่น ผู้ผลิตจะกำหนด ”ยี่ห้อ” และรุ่นของยางตายตัวลงไปนอกนั้นใช้วิธี “ละไว้ในฐานที่เข้าใจ” ว่าจะต้องเป็นยางยี่ห้อเดียวกันทั้ง 4 ล้อ   เมื่อโรงงานรถยนต์ปรับระบบรองรับให้เกาะถนน และปลอดภัยภายใต้เงื่อนไขว่าต้องเป็นยางรุ่นเดียวกัน“ยี่ห้อ” เดียวกันทั้ง 4 ล้อ ผู้ใช้รถจึงต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด กรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามได้ อนุโลมให้เพียงความแตกต่างระหว่างยางคู่หน้าและคู่หลังเท่านั้น (ประเภทต่างกันหมดทั้ง 3 หรือ 4 ล้อนี่ไม่ไหวครับ) และมีข้อแม้ที่สำคัญมากประกอบด้วย คือ ให้เอายางที่มีมุมสลิปกว้างกว่าไว้ที่ล้อหน้า ปัญหามีอยู่ว่า เจ้าของรถจะทราบได้ยังไงว่ายางรุ่นไหนมีมุมสลิปกว้างกว่า มีวิธีสังเกตได้ง่าย (ดูภาพประกอบด้วยครับ) แต่ต้องเหนื่อยกันหน่อยครับ คือ ลองเอายางคู่ใดคู่หนึ่งไว้ด้านหน้าแล้วลองขับโดยสังเกตความไวของรถในการตอบสนองต่อพวงมาลัย หลังจากนั้นย้ายยางคู่นี้ไปแลกกับล้อหลังทั้งคู่ (อย่าลืมปรับลมยาง) ลองขับอีกครั้งแล้วสังเกตว่า แบบไหนที่ตอบสนองพวงมาลัยได้แย่กว่า หรือเฉื่อยกว่า แบบนั้นแหละครับคือแบบที่ปลอดภัย นิตโตะซัง ขอย้ำครับว่าปัญหานี้อันตรายถึงชีวิต ถ้าใช้งานในสภาพปกติอาจไม่เป็นไร แต่เมื่อไหร่ที่ต้องหลบหลีกสิ่งกีดขวางที่ความเร็วสูง หรือในภาวะฉุกเฉิน “อาการ” ของรถจะแปรเปลี่ยนรวดเร็วจนกระทั่งผู้ขับแก้ไขไม่ทัน แม้จะมีฝีมือระดับนักแข่งก็ตามครับ

ยี่ห้อ/รุ่น ของยาง สำคัญยังไง ?!? ตอนที่ 1

มีแฟนๆ สงสัย ถาม นิตโตะซัง กันมามากว่า จำเป็นจะต้องใช้ยางยี่ห้อเดียวกัน รุ่นเดียวกันทั้ง 4 ล้อหรือไม่ ขอตอบสั้นๆ ก่อนอธิบายเหตุผลว่า จำเป็นครับ   ที่ผมเขียนว่ารุ่นเดียวกันทั้ง 4 ล้อ นี่หมายถึง รถส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดในโลกนี้ มียกเว้นอยู่บ้างในรถสปอร์ตบางรุ่น ซึ่งในยางหน้าคนละขนาดกับยางหลัง แต่ควรต่างกันเพียงขนาดนะครับ ขอให้ใช้รุ่นเดียวกันยี่ห้อเดียวกันตามที่ผู้ผลิตรถเขากำหนดไว้       ถ้าเราขับรถซึ่งอยู่ในสภาพสมบูรณ์บนถนน ซึ่งไม่เอียงและไม่มีลม แล้วเราจับพวงมาลัยนิ่งไว้ ให้รถแล่นตรง เราจะสังเกตได้ว่า เมื่อมีลมปะทะด้านข้างหรือถนนลาดเอียง รถของเราจะแล่นเป็นแนวเฉียงจากทิศเดิมได้โดยที่เราไม่ได้ขยับพวงมาลัยเพื่อเลี้ยวแม้แต่น้อย เหตุที่ล้อกลิ้งเป็นแนวเฉียงได้ เมื่อมีลมมากระทำด้านข้าง ทั้งๆ ที่แกนล้อยังอยู่ในทิศเดิมนั้น เพราะยางของรถเราเป็นของอ่อนซึ่งบิดตัวได้ มุมที่เกิดขึ้นจากความแตกต่างของแนวที่ล้อกลิ้งกับแนวที่เคลื่อนที่ไปจริงๆ นี่เราเรียกว่ามุมสลิป (Slip Angle) ซึ่งจะมีค่ามากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับรูปแบบโครงสร้างของยาง เนื้อยาง ดอกยาง และความดันลมยาง และขึ้นอยู่กับแรงที่มากระทำด้านข้างด้วย ถ้าแรงนี้มีค่าสูง ล้อของเราย่อมกลิ้งเป็นแนวเฉียงจากทิศเดิมมากอย่างแน่นอนครับ   ถ้าไม่นับค่าของแรงที่มากระทำด้านข้างและความดันลมยางแล้ว ก็ต้องบอกว่ามุมสลิปของยางต่างกัน ตามแต่รุ่นและยี่ห้อของยาง (ซึ่งแตกต่างกันที่โครงสร้าง เนื้อที่ยาง […]

น็อตล้อ อันตราย!!! เพราะความอยากสบาย (ของช่าง) ตอนที่ 4

บางคันที่ขันไม่ออก แม้แต่เครื่องมือที่ทนทานคุณภาพสูง ก็ยังแตกหรือหัก บางคันต่อด้ามเครื่องมือยาวเป็นสองเท่าแล้วก็ยังไม่ออกครับ ต้องใช้เทคนิคพิเศษหลายอย่างเชิงช่าง บางครั้งอู่ต้องขอเบิกเงินสำหรับซื้อเครื่องมือใหม่ต่อเจ้าของรถ จึงจะกล้าลงมือคลายครับ   น็อต และโบลท์ (ตัวผู้) สำหรับยึดล้อเข้ากับดุมล้อ ต้องถูกขันด้วยค่าที่ผู้ผลิตรถกำหนด โดยใช้เครื่องมือควบคุมแรงบิด (Torque Wrench) อย่างในภาพ ราคาไม่ถึงหมื่นครับ ใช้ประกอบเครื่องยนต์ และขันชิ้นส่วนของช่วงล่างได้ด้วย อายุใช้งานเกิน 10 ปี ราคาระดับนี้เป็นเรื่องเล็กน้อยสำหรับอู่ซ่อมรถ และ “ร้านยาง”ครับ โดยเฉพาะศูนย์บริการเป็นทางการของรถยี่ห้อต่างๆ ต้องเริ่มเป็นตัวอย่างก่อนใครอื่นเลย   ระหว่างนี้ ใครที่นำรถไปปะยางถ่วงล้อ เปลี่ยนยางมา นิตโตะซัง ขอแนะนำให้นำรถไปให้ช่างที่ไว้ใจได้ ลองคลายน็อตล้อ และขันใหม่ ด้วยแรงบิดที่ถูกต้อง ไม่ต้องยกรถเลยครับ แค่ใช้เบรกมือ แล้วคลาย และขันกลับทีละตัวจนครบ เพื่อให้แน่ใจว่า หากยางแบนกลางทาง โดยเฉพาะเมื่อเดินทางไกล จะไม่ต้อง “กินข้าวลิง”ถูกปล้น ทำร้าย หรือถูกฆ่าชิงทรัพย์ครับ  

“น็อตล้อ” อันตราย!! เพราะความอยากสบาย (ของช่าง) ตอนที่ 3

มาต่อกันนะครับว่าการใช้บล็อคลมใส่น็อตล้อของเรามันอันตรายยังไง ตอนถอดนั้นไม่มีปัญหาครับ แต่ถ้าใช้ในตอนใส่ล้อด้วย ความเดือดร้อนของพวกเรา อาจหนักหนาสาหัสระดับนรกบนดินเลยทีเดียวครับ เริ่มตั้งแต่การตั้งค่าแรงบิด ซึ่งช่างชาวไทยมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวอยู่แล้ว คือยิ่งมากยิ่งดี ยิ่งแรงยิ่งดี ตั้งค่าเกินอย่างเดียวก็แย่แล้ว แต่นักเปลี่ยนล้อ ยาง ตามร้านยางเหล่านี้ ยังรู้สึกว่า อาจจะไม่แน่นพอ แม้แรงบิดจะถึงค่าที่ตั้งไว้ จนได้ยินเสียงลั่นหลายครั้งแล้วก็ยังไม่เลิกครับ ทุกจังหวะเสียง “แต็กๆ” ที่ได้ยิน หมายถึง การขันแบบกระแทกซ้ำเพิ่มแรงบิดขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง เบ็ดเสร็จแล้ว น็อตล้อของเราถูกขันด้วยแรงเกินกว่า 2 เท่า ของค่าที่กำหนด ถ้ายังไม่ขาดจากกัน ก็ยังไม่มีอะไรเสียหายครับ ยกเว้นหน้าสัมผัสที่ได้อธิบายไปแล้ว หายนะจะมาถึงเรา ก็ต่อเมื่อยางแบนกลางทาง จะด้วยเหตุอะไรก็ตาม ไม่มีทางที่จะคลายน็อตล้อ ที่ถูกขันด้วยวิธีที่ว่านี้ให้ออกได้ แม้ขึ้นไปยืนขย่มบนปลายด้ามขันของเครื่องมือถอดล้อประจำรถ ก็ยังไม่หลุดครับ ลองนึกภาพสถานการณ์ที่ว่านี้ บนถนนที่ปราศจากผู้คน และร้านรวงยามค่ำคืนดูสิครับ แล้วจะเข้าใจว่า “นรกบนดิน” ที่ นิตโตะซัง เอ่ยไว้แต่แรก ไม่ได้เกินความจริงไปเลย  

“น็อตล้อ” อันตราย!! เพราะความอยากสบาย (ของช่าง) ตอนที่ 2

นอกจากจะถูกขันด้วยการขย่มทั้งตัว หรือใช้เท้าเหยียบปลายด้ามเครื่องมือแล้ว นิตโตะซัง ขอบอกว่ายังมีอีกวิธีที่ทัดเทียมกัน หรือไม่ก็เลวร้ายกว่า ซึ่งก็คือการใช้ “บล็อคลม” ซึ่งจริงๆ เครื่องมือนี้เหมาะกับงานเกี่ยวกับรถยนต์ เฉพาะตอนรื้อ หรือตอนถอดเท่านั้นครับ เพราะทุ่นแรง และรวดเร็ว ช่วยให้ประหยัดเวลาได้มาก แต่ความเที่ยงตรงและแม่นยำยังไม่เพียงพอ จึงไม่เหมาะกับการใช้งานตอนขันกลับ หรืองานประกอบชิ้นส่วนที่ต้องการค่าแรงบิดที่แม่นยำ   บล็อกลมที่ว่านี้ ผู้ใช้สามารถปรับให้ได้แรงบิดตามที่ต้องการได้ เมื่อถึงค่าที่ตั้งไว้ ชุดส่งแรงบิดจะถลำฟรีได้ ผู้ใช้เพียงแค่เลิกกดปุ่ม หรือเลิก “เหนี่ยวไก” หลังจากได้ยินเสียงถลำฟรี (แต๊กๆๆๆๆๆ) เพียงไม่กี่ครั้ง แต่ถ้ายังกดแช่อยู่ ถึงจะถลำฟรีได้ แต่มันก็จะเพิ่มแรงบิดในลักษณะ “กระแทก” ต่อไปอีกระดับหนึ่งมากน้อยขึ้นอยู่กับช่วงเวลาที่ยังกดปุ่ม หรือเหนี่ยวไกอยู่   แล้วจะเกิดอะไรขึ้น เมื่อช่างตามอู่ซ่อมรถ และโดยเฉพาะตามร้านยาง นำเครื่องมือนี้มาทั้งถอด และใส่ล้อรถของพวกเรา  ติดตามต่องวดหน้าครับ !

“น็อตล้อ” อันตราย!! เพราะความอยากสบาย (ของช่าง) ตอนที่ 1

นิตโตะซัง ขอบอกว่า “น็อตล้อ” เป็นชิ้นส่วนที่มีอายุยืนยาวในระดับที่แทบจะบอกได้ว่าไม่มีจุดสิ้นสุดครับ ถ้าถูกขันด้วยแรงบิดที่ถูกต้อง ถึงไม่ถูกต้อง แต่ไม่เกินไปมากมาย ก็จะยังไม่มีความเสียหายเกิดขึ้นได้อยู่ดี บางทีเห็นต่อด้ามกันยาวเหยียด จนสามารถขันจนแรงบิดเกินค่าที่ผู้ผลิตรถเขากำหนดได้หลายเท่าตัว แม้ผู้ผลิตเครื่องมือเขาเลือกความยาวของด้ามขัน ให้เพียงพอกับแรงบิดที่ต้องใช้ โดยใช้แรงดึงหรือดันด้วยมือ และแขนของผู้ขันเท่านั้น ก็ยังจะดึงดันต่อด้ามกันให้ยาวท่วมหัว   ช่างซ่อมรถบางคนใช้วิธีขย่ม ปล่อยน้ำหนักตัวเกือบทั้งตัว กดลงไปที่ปลายด้าม บางรายก็ถึงขั้นใช้เท้าเหยียบแล้วขย่มทั้งตัว ถึงจะถูกทารุณอย่างสุดโหดขนาดนี้ เกลียวก็ยังไม่ชำรุดครับ และสลักเกลียวก็ไม่ขาดด้วย เพราะคุณภาพของเหล็กยุคนี้สูงมาก ประกอบกับในช่วงท้ายที่แรงบิดสูงมาก จากการขย่มแรงอัดที่หน้าสัมผัสของน็อต หรือสลักเกลียวตัวผู้ (BOLT) กับเบ้ารอบรูของกระทะล้อ ก็จะมีค่ามหาศาล หลายตัน (1,000 กก.) ต่อโบลท์แต่และตัว   แต่แม้จะไม่ขาดคามือตอนขัน แต่อาจจะขาดทีหลังได้ครับ เพราะตอนใช้งานกระทะล้อจะรับความร้อนที่ถูกถ่ายเทมาทางเนื้อโลหะจากจานเบรก และถ้าเป็นล้อแม็ก ทำจากอลูมิเนียม ซึ่งเป็นโลหะที่มีค่าสัมประสิทธิ์การขยายตัวเมื่อถูกความร้อนสูงกว่าเหล็กมากพอสมควร เมื่ออลูมิเนียมที่เป็นส่วนของกระทะล้อพองตัวมากกว่าการยืดของเหล็ก ส่วนที่เป็นสลักเกลียว แรงอัดนี้จะเพิ่มขึ้นอีกหลายสิบเปอร์เซ็นต์ เพราะฉะนั้นอย่ายอมให้ช่าง (เถอะ) ขันน๊อตล้อรถเราแรงเกินไปเด็ดขาดครับ  

สลับยางอย่างเจ๋ง !!!!

การสลับยาง เป็นอีกหนึ่งวิธีดูแลรักษายางที่สำคัญครับ เพราะจะช่วยรักษาคุณสมบัติของยางให้คงอยู่ และยืดอายุการใช้งานให้ยาวนาน   การสลับยางควรทำอย่างถูกวิธีในช่วงเวลาที่ผู้ผลิตรถหรือยางกำหนด และตามความเหมาะสมของยางแต่ละประเภท ซึ่งส่วนมากคือ ควรสลับยางทุกๆ 5,000 กม. สำหรับยางธรรมดา หรือ 10,000 กม. สำหรับยางเรเดียล แต่ถ้าไม่ลำบากเกินไปควรสลับทุกๆ 5,000 กม. ก็จะดีมากครับ เพื่อให้การสึกของยางเป็นไปอย่าง ทั่วถึง ตลอดหน้ายาง หากไม่สลับยาง หน้ายางบางเส้นอาจสึกหรอไม่เท่ากัน เกิดอาการสึกเอียงซ้าย หรือสึกเอียงขวา จะทำให้ไม่ ปลอดภัย     สำหรับยางที่มีลายดอกยางแบบไม่สมมาตร เป็นยางที่มีลายดอกยางด้านในและด้านนอกแตกต่างกัน (แบบ NT830 ของพวกเรานี่แหละครับ) โดยส่วนใหญ่จะไม่มีทิศทางในการหมุนยางสามารถสลับจากหน้าไปหลัง หลังไปหน้า หรือจากซ้ายไปขวา ขวาไปซ้ายได้ตามปกติ โดยไม่ต้องถอดยางออกจากกระทะล้อ ลายดอกยางแบบมีทิศทาง หรือ Directional ส่วนใหญ่เรามักจะพบในยางที่มีคุณสมบัติรีดน้ำได้ดี เป็นยางที่มีทิศทางในการหมุนสามารถสลับแค่เฉพาะจากหน้าไปหลัง และหลังไปหน้าได้เท่านั้น  แต่ถ้าจะสลับจากซ้ายไปขวา ขวาไปซ้ายจำเป็นต้องทำการถอดประกอบยางกับกระทะล้อใหม่ เพื่อให้คงทิศทางการหมุนที่ถูกต้อง เพราะฉะนั้นต้องดูประเภทของมันก่อนสลับยางครับ

แล้วเรานับอายุยางกันยังไง ?

คุณรู้มั้ยว่า ในบรรดาสินค้าที่อยู่ในท้องตลาด ยางรถยนต์ต้องเผชิญสภาพแวดล้อมขณะใช้งานอย่างโหดร้ายมว๊าก โดยเนื้อยางโดนยืดไปมานับเป็นล้านครั้งขณะกลิ้งตัวไปตามพื้นถนนจนกว่าจะหมดสภาพการใช้งาน   นิตโตะซัง ขอบอกว่า ถ้ารถเราวิ่งด้วยความเร็ว130 กม./ชม. ล้อและยางจะต้องหมุนถึงประมาณ 20 รอบ/วินาที นั่นแสดงว่าการออกแบบการผลิตยางรถยนต์แต่ละเส้นนั้น ได้มีการเอาองค์ประกอบต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องความทนทาน และอายุการใช้งานเป็นองค์ประกอบในการพัฒนาผลิตึภัณฑ์ด้วย   อันที่จริง อายุของยางรถยนต์จะเริ่มนับตั้งแต่วันแรกที่ไปใช้งานจริงหรือติดล้อวิ่ง ไม่ใช่จากวันเดือนปีที่ผลิตนะครับ และถ้าจะพิจารณาถึงการสิ้นสุดของการใช้งาน ให้พิจารณาจากความลึกของดอกยาง โดยดูจากสะพานยางที่อยู่ระหว่างร่องดอกยางซึ่งมีความสูงประมาณ 1.6 มม. ถ้าพบว่า ดอกยางมีอัตราการสึกจนถึงระดับนี้แล้ว แสดงว่ายางเส้นนั้นร่องยางตื้นเกินไปแล้ว ควรเปลี่ยนยางเส้นใหม่เพื่อความปลอดภัยจะดีกว่า   สำหรับยางรถยนต์ที่ยังไม่ได้ถูกนำไปใช้งาน ถ้าเก็บรักษาอย่างถูกวิธี สามารถเก็บได้ในระยะเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี ก่อนนำไปติดล้อวิ่ง ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ยาวนานจนอาจไม่จำเป็นที่ต้องให้ความสนใจในการตัดสินใจซื้อ สิ่งที่ควรให้ความสำคัญก็คือการเลือกยางรถยนต์ให้ให้ถูกกับการใช้งาน ยี่ห้อที่ไว้ใจได้และดูแลรักษายางรถยนต์อย่างสม่ำเสมอมากกว่าครับ